โคมไฟแสงอาทิตย์...พลังงานแก่คนยากจน

โคมไฟแสงอาทิตย์ทำให้ชีวิตของเด็กๆที่อยากจนดีขึ้น (รูปภาพจาก : http://news.discovery.com )
Evans Wadongo นั้นอายุยังไม่ 25 แต่เขาก็ได้เปลี่ยนชีวิตของคนชาวเคนย่านับหมื่นที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชนชนบทที่ยากจนด้วยการมอบโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่พวกเขา
ในฐานะที่เป็นเด็กที่โตในเคนย่าแถบตะวันตกนั้น Wadongo ได้พยายามอย่างหนักที่จะทำการบ้านด้วย โคมไฟที่ใช้น้ำมันก๊าด อีกทั้งยังถูกตีที่โรงเรียนอีกด้วยถ้าเกิดครอบครัวของเขาเกิดเชื้อเพลิงหมดขึ้นมา และควันไฟยังส่งผลให้สายตาของเขาเสียหายอย่างถาวร
แต่พ่อของเขา ผู้ซึ่งถูกอธิบายไว้ว่าเป็นคุณครูที่เข้มงวดมาก และเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขานั้น ได้เห็นว่าเขาสามารถเรียนจนจบและเข้ามหาวิทยาลัยได้
เมื่ออยู่ที่นั่น Wadongo ได้เริ่มคิดว่าทำอย่างไรถึงจะปรับปรุงแก้ไขสภาพความเป็นอยู่ของเด็กๆในชุมชนที่มีสภาพคล้ายกันกับหมู่บ้านของเขา ซึ่งก็มีอยู่มากมาย ถึงแม้เคนย่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในแอฟริกาตะวันออกก็ตาม ประชาชนจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งก็มีชีวิตอยู่ในแต่ละวันด้วยเงินน้อยกว่าหนึ่งดอลล่าร์อยู่ดี
เขาอยากจะช่วยผู้คนมาโดยตลอดแต่ไม่อยากจะเรียนด้านการแพทย์ เขาก็เลยไปลงที่วิศกรรมแทน ซึ่งเขาอายุเพียง 19 ปีเท่านั้นตอนที่เขาได้คิดค้นโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการนำเงินสู้ยืมเพื่อการศึกษาส่วนหนึ่งไปหาซื้อสิ่งที่เขาต้องการ
“ผมไม่เคยคิดว่ามันจะมาถึงขนาดนี้ได้ ตอนแรกผมอยากจะทำไปให้คุณย่าผมซักอันหนึ่งเท่านั้น” เขาจำได้
ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตเมื่อปี 2004 ทุกวันนี้มีโคมไฟดังกล่าวแล้วจำนวน 15,000 ชิ้น ซึ่งเขาหวังว่าจะทำให้ได้ 100,000 ชิ้นภายในปี 2015
“ผมเริ่มจากหมู่บ้านที่ผมโตขึ้นและได้เห็นเด็กๆไปเรียนหนังสือตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยม” เขากล่าว
เขาไม่มีเวลาสำหรับชนชั้นการเมืองของเคนย่า และกล่าวว่า “พวกเขาอยากให้คนจนอยู่อย่างนั้นเพื่อที่พวกเขาจะได้มีอำนาจต่อไป”
สำหรับ Wadongo แล้ว โคมไฟพวกนี้ไม่ได้สิ้นสุดอยู่แค่นั้น แต่มันยังเป็นหนทางที่จะทำให้คนหลุดพ้นจากความยากจนอีกด้วย
เขาและทีมงานจากโครงการ “Use Solar, Save Lives” นั้นเริ่มต้นจากการค้นหาชุมชนที่ยากจนที่ต้องพึ่งพาแสงสว่างจากน้ำมันก๊าดเวลาที่พวกเขาพอมีเงินที่จะซื้อเชื้อเพลิงมาใช้ได้ พวกเขาได้มอบโคมไฟจำนวน 30 ชิ้นให้กับกลุ่มๆหนึ่งของชุมชนนั้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้หญิง และยังได้สนับสนุนให้ชุมชนรวมกองทุนที่แต่ละครอบครัวสะสมกันมาด้วยการไม่ต้องไปซื้อน้ำมันก๊าดอีก
เมื่อกองทุนเหล่านั้นสะสมได้จำนวนหนึ่งแล้ว พวกเขาสามารถไปริเริ่มโครงการใดโครงการหนึึ่งอย่างการทำฟาร์มปลาหรือเพาะพันธุ์กระต่ายก็ได้
ส่วนชุมชนที่ย้ายที่อยู่กันบ่่อยๆก็จะได้รับโคมไฟแบบพิเศษที่ทำให้การขนย้ายนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างก็คือหมู่บ้าน Chumbi ซึ่งอยู่ห่างจากไนโรบีไป 31 ไมล์ซึ่งให้การตอนรับ Wadongo เป็นอย่างดี
“พวกเขาต่างก็อยากได้โคมไฟ” Agnes Muthengi ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนจากชุมชนที่ติดตามเขาเข้าไปในหมู่บ้านกล่าวด้วยรอยยิ้ม
Jennifer David อายุ 47 ปี อาศัยอยู่ในบ้านที่สร้างจากโคลนผสมอิฐและขนาบข้างด้วยสิ่งปลูกสร้างด้านนอกที่ส่วนใหญ่ทำจากเศษเหล็ก
ถัดไปก็เป็นไร่ข้าวโพดที่เหี่ยวเฉาเนื่องจากขาดน้ำ ซึ่งสามีของ David นั้นเป็นแรงงานรายวัน และงานนั้นก็หายาก แหล่งรายได้ที่เหลืออีกทางหนึ่งของเธอก็คือการเพาะพันธุ์กระต่าย แต่เนื่องด้วยกระต่ายหนึ่งตัวก็ให้เงินได้แต่ประมาณ 1.3 ดอลล่าร์ต่อตัวเท่านั้น อีกทั้งลูกของเธอคนหนึ่งจากทั้งหมดห้าคนก็ป่วยและต้องอยู่ในบ้าน ทำให้ชีวิตลำบากมากทีเดียว
มีข้อความหนึ่งอยู่บนเหล็กบิดๆที่ขึ้นสนิมเป็นข้อความที่บอกให้ผู้มาเยือนว่าคนอยู่ที่อาศัยในที่นี่นั้นเชื่อในพระเจ้า และสิ่งที่แขวนอยู่ที่เสาลานบ้านก็คือโคมไฟของ Wadongo ที่กำลังชาร์จอยู่
“ตั้งแต่ฉันได้โคมไฟดวงนี้สิ่งต่างๆก็เปลี่ยนไป” David กล่าว “ก่อนหน้านี้ฉันใช้น้ำมันก๊าดและมันก็มีกลิ่นและควันมาก อีกทั้งเราก็จ่ายเงินค่าน้ำมันก๊าดไปเยอะ”
ในตอนนี้ ลูกๆของเธอสามารถเรียนและอ่านหนังสือได้ในตอนค่ำโดยปราศจากค่าใช้จ่ายหรือสิ่งรบกวนแล้ว
Wadongo วางแผนที่จะขยายโครงการของเขาออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีอูกานดาเป็นเป้าหมายต่อไป ตอนนี้เขาก็เริ่มฝึกเด็กฝึกงานที่ไม่ได้มาจากเฉพาะเคนย่าหรือในแอฟริกาอย่างเดียวแต่ยังมีมาจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯอีกด้วย เขายังตั้งเป้าที่กระจายการผลิตโคมไฟออกไปซึ่งเป็นการสร้างงานให้กับเด็กที่ไม่มีงานทำเช่นกัน
วิศวกรหนุ่มคนนี้ได้วางแผนทำหมู่บ้านตัวอย่างที่ Nyaobe ที่อยู่ทางตะวันตกของเคนย่าซึ่งคร่อมเส้นศูนย์สูตรอยู่ โดยผู้อยู่อาศัยจะได้รับสายไฟพลังงานแสงอาทิตย์และมีอินเตอร์เน็ตใช้
“ถ้าเราทุกคนคิดถึงคนอื่นก่อนที่จะคิดถึงตัวเอง โลกก็จะดีขึ้นกว่านี้” เขากล่าว

อนุภาคฮิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
          อนุภาคฮิกส์ (อังกฤษ: Higgs particle) หรือ ฮิกส์โบซอน (อังกฤษ: Higgs boson) เป็นอนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งตามแบบจำลองมาตรฐานในการศึกษาด้านฟิสิกส์อนุภาค จัดอยู่ในกลุ่มอนุภาคโบซอน นักวิทยาศาสตร์พยายามทำการทดลองเพื่อค้นหาการเกิดของอนุภาคนี้ ซึ่งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เซิร์นประกาศว่าได้ค้นพบอนุภาคที่คาดว่าจะเป็นอนุภาคฮิกส์ โดยมีความแม่นยำสูงถึง 99.9999 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม จะมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อพิสูจน์ว่าอนุภาคที่ตรวจพบนี้เป็นอนุภาคฮิกส์จริง[1]

       อนุภาคฮิกส์จัดอยู่ในกลุ่มอนุภาคโบซอน เนื่องจากมีค่าสปินเป็นเลขจำนวนเต็ม (เหมือนกับอนุภาคอื่น ๆ ในกลุ่มโบซอน) และตามทฤษฎีต้องใช้พลังงานมหาศาลในการตรวจจับอนุภาคชนิดนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการชนของอนุภาค อนุภาคฮิกส์เป็นอนุภาคมูลฐานเพียงชนิดเดียวที่ยังไม่เคยได้รับการค้นพบ แต่มีการทำนายว่ามีอยู่จริงตามแบบจำลองมาตรฐาน อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เซิร์นได้ค้นพบ "อนุภาคที่คล้ายอนุภาคฮิกส์" ซึ่งขณะนี้กำลังวิเคราะห์เพื่อยืนยันว่าเป็นอนุภาคฮิกส์จริง
อนุภาคชนิดนี้มีบทบาทพิเศษในแบบจำลองมาตรฐาน กล่าวคือเป็นอนุภาคที่อธิบายว่าทำไมอนุภาคมูลฐานชนิดอื่น เช่น ควาร์ก อิเล็กตรอน ฯลฯ (ยกเว้นโฟตอนและกลูออน) ถึงมีมวลได้ และที่พิเศษกว่าคือ สามารถอธิบายว่าทำไมอนุภาคโฟตอนถึงไม่มีมวล ในขณะที่อนุภาค W และ Z โบซอนถึงมีมวลมหาศาล ซึ่งมวลของอนุภาคมูลฐาน รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างแรงแม่เหล็กไฟฟ้าอันเกิดจากอนุภาคโฟตอน และอันตรกิริยาอย่างอ่อนอันเกิดจากอนุภาค W และ Z โบซอนนี่เอง เป็นผลสำคัญอย่างยิ่งที่ประกอบกันเกิดเป็นสสารในหลายรูปแบบ ทั้งที่เรามองเห็นและมองไม่เห็น ทฤษฎีอิเล็กโตรวีค (electroweak) กล่าวไว้ว่า อนุภาคฮิกส์เป็นตัวผลิตมวลให้กับอนุภาคเลปตอน (อิเล็กตรอน มิวออน เทา) และควาร์ก

       เนื่องจากอนุภาคฮิกส์มีมวลมากแต่สลายตัวแทบจะทันทีที่ก่อกำเนิดขึ้นมา จึงต้องใช้เครื่องเร่งอนุภาคที่มีพลังงานสูงมากในการตรวจจับและบันทึกข้อมูล ซึ่งการทดลองเพื่อพิสูจน์ความมีตัวตนของอนุภาคฮิกส์นี้จัดทำโดยองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (CERN) โดยทดลองภายในเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ (LHC) และเริ่มต้นการทดลองตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 จากการคำนวณตามแบบจำลองมาตรฐานแล้ว เครื่องเร่งอนุภาคจะต้องใช้พลังงานสูงถึง 1.4 เทระอิเล็กตรอนโวลต์ (TeV) ในการผลิตอนุภาคมูลฐานให้มากพอที่จะตรวจวัดได้[2] ดังนั้นจึงได้มีการสร้างเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ (LHC) ดังกล่าวขึ้นมาเพื่อทำการทดลองพิสูจน์ความมีตัวตนของอนุภาคชนิดนี้[3]

       วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทีม ATLAS และทีม CMS ของเซิร์น ประกาศว่าได้ค้นพบข้อมูลที่อาจแสดงถึงการค้นพบฮิกส์โบซอน[4] และในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทั้งสองทีมได้ออกมาประกาศว่าได้ค้นพบอนุภาคชนิดใหม่ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น "อนุภาคที่สอดคล้องกับอนุภาคฮิกส์" มากที่สุด มีมวลประมาณ 125 GeV/c2 (ประมาณ 133 เท่าของโปรตอน หรืออยู่ในระดับ 10-25 กิโลกรัม) และนับจากนี้จะมีการวิเคราะห์และตรวจสอบผลอย่างละเอียดเพื่อพิสูจน์ว่าอนุภาคดังกล่าวเป็นอนุภาคฮิกส์จริง อนุภาคที่ตรวจพบจากการทดลองนี้มีคุณสมบัติของอนุภาคฮิกส์ตามที่ทฤษฎีได้ทำนายไว้ หากเป็นอนุภาคฮิกส์จริงก็จะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่สุดที่สนับสนุนแบบจำลองมาตรฐาน[5][6][7][8][9]

       แนวคิดเกี่ยวกับอนุภาคฮิกส์ และสนามพลังฮิกส์เกิดขึ้นราวปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) โดยนักวิทยาศาสตร์หลายคน ได้แก่ ฟรองซัว อองเกลอร์ (François Englert) และ โรเบิร์ต เบราท์ (Robert Brout) ในเดือนสิงหาคม[10] ปีเตอร์ ฮิกส์ ในเดือนตุลาคม[11] รวมถึงงานวิจัยอิสระอีกสามชุดโดย เจอรัลด์ กูรัลนิค (Gerald Guralnik) ซี.อาร์.เฮเกน (C. R. Hagen) และ ทอม คิบเบิล (Tom Kibble) ในฤดูใบไม้ผลิปีก่อนหน้าคือ พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963)

เลออน เลเดอร์แมน นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวอเมริกัน ตั้งชื่ออนุภาคฮิกส์ว่า "อนุภาคพระเจ้า" (God particle)[12] แต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายคนนไม่เห็นด้วยและไม่ชอบชื่อนี้[


โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ "สร้าง-ไม่สร้าง"

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Energy Regulatory Commission

โดย ชวลิต พิชาลัย รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน



"ไม่ต้องอาศัยพลังงานนิวเคลียร์มาผลิตไฟฟ้าหรอก...อันตราย หากสารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมาก็แย่กันพอดี"
"แต่ถ้ามีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก็ดีไปอย่าง เพราะทรัพยากรธรรมชาติบ้านเราเหลือน้อยลงทุกที ถ้าได้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ ค่าไฟอาจจะถูกลง ไม่ต้องจ่ายแพงเหมือนตอนนี้"
บทสนทนาว่าด้วย "สร้าง-ไม่สร้าง" โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยดังขึ้นมานานแล้ว ถึงตอนนี้บทสรุปยังไม่ชัดเจนว่าประเทศไทยจะหันหลังให้โครงการที่เข้าขั้น "เมกะโปรเจคต์" นี้หรือไม่ หรือจะมุ่งหน้าเดินไปสู่การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากเป็นอีก "ทางเลือก" หนึ่งของการจัดหาพลังงานของประเทศ



1. โลกกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA)ได้ระบุว่า กว่า 50 ปี ที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าและบริการต่างๆ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน เริ่มตั้งแต่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ Obninsk ของสหภาพโซเวียต ซึ่งถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โรงแรกของโลก จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี พ.ศ. 2497 ต่อมาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โรงที่ 2 ของโลกถูกสร้างขึ้นที่เมือง Calder Hall ในประเทศอังกฤษ และเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2499 และในปี พ.ศ. 2500 สหรัฐอเมริกาก็จ่ายกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โรงแรกที่เมือง Shipping port รัฐเพนซิลวาเนีย และในปี พ.ศ. 2502 ฝรั่งเศสก็เริ่มมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย ปัจจุบันทั่วโลกใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานนิวเคลียร์จำนวน 371,989 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั่วโลก ซึ่งมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จำนวน 436 โรง กระจายอยู่ใน 30 ประเทศ และ 1 เขตเศรษฐกิจ หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เกิดขึ้น 8 โรงทุกปี ปัจจุบันยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่อยู่ระหว่างกำลังก่อสร้าง 45 โรง ใน 13 ประเทศ อยู่ในแผนการก่อสร้าง 94 โรง และอยู่ในข้อเสนอขอก่อสร้างอีก 222 โรง ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีความผันผวน และเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานสะอาด ไม่มีการเผาไหม้หรือสันดาปภายใน ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจึงไม่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) และไนตรัสออกไซด์(N2O) ซึ่งเป็นที่มาของปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกหรือภาวะโลกร้อน



ตารางที่ 1 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยออกมาแยกตามประเภทโรงไฟฟ้า


ประเภทโรงไฟฟ้า กรัมต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
ถ่านหิน800
ก๊าซธรรมชาติ (Combined Cycle: CC)427
พลังงานนิวเคลียร์ (Pressurized Water Reactor: PWR)6
เซลแสงอาทิตย์150
พลังงานลม22
พลังน้ำ 6

ที่มา: วารสารพลังงานและเทคโนโลยี ฉบับที่ 3/2550 เมษายน – มิถุนายน 2550



2. ประเทศไทยกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

ประเทศไทยมีความคิดที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เริ่มจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เริ่มศึกษาความเหมาะสมของโครงการและเลือกสถานที่ตั้งในปี 2510 ต่อมารัฐบาลได้เห็นชอบโครงการ และกำหนดใช้ปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด (BWR) ขนาด 600 เมกะวัตต์ ในปี 2513 ที่อำเภออ่าวไผ่ จังหวัดชลบุรี หลังจากนั้น กฟผ. ได้เสนอขออนุมัติเพื่อเปิดประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ในปี พ.ศ. 2519 แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โดยเฉพาะในประเด็นที่สาธารณะชนส่วนใหญ่เป็นห่วงเรื่องการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีและเรื่องการกำจัดกากของนิวเคลียร์ ซึ่งไม่สามารถหาข้อยุติได้ อย่างไรก็ดีจากการค้นพบแหล่งลิกไนต์ขนาดใหญ่ที่จังหวัดลำปางและต่อมาได้มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติที่อ่าวไทย ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ชะลอโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ออกไปโดยไม่มีกำหนด และหันไปก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนลิกไนต์และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงแทน ดังนั้นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่รัฐบาลตั้งใจจะให้เกิดขึ้นจึงหยุดไป



ต่อมาได้มีแนวคิดเริ่มโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นมาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ทำการสำรวจและศึกษาสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และได้สถานที่ตั้งที่เหมาะสม จำนวน 5 แห่ง แต่เนื่องจากไม่มีนโยบายที่แน่ชัดโครงการจึงไม่ได้ดำเนินการต่อ จนกระทั่งถึงปี 2550 รัฐบาลจึงตระหนักถึงปัญหาการผลิตไฟฟ้า ปัญหาคือ ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการใช้ภายในประเทศ คิดเป็นมูลค่าถึงประมาณ 1.03 ล้านล้านบาทต่อปี และต้องพึ่งพิงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ราคาเชื้อเพลิงก็เพิ่มขึ้นมากตามราคาน้ำมัน รวมทั้งกับปัญหาภาวะโลกร้อน จึงทำให้เกิดความต้องการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้บรรจุไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ในปี 2563 จำนวน 1,000 เมกะวัตต์ และอีก 1,000 เมกะวัตต์ ในปี 2564 รวมทั้งเห็นชอบให้จัดตั้งสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นภายในกระทรวงพลังงาน เพื่อจัดทำแผนเตรียมความพร้อมในด้านการศึกษาความเป็นไปได้ การคัดเลือกพื้นที่ซึ่งเป็นสถานที่ตั้ง การกำกับดูแลด้านความปลอดภัย และการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดเตรียมด้านบุคคลากร และการคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสร้างการยอมรับของประชาชนต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ทั้งนี้รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับคณะรัฐมนตรี ในการตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการดังกล่าวนี้หรือไม่ในต้นปี 2554



จุดแข็งของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ นอกเหนือจากช่วยลดโลกร้อนแล้ว ยังมีต้นทุนเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ในปี 2563 ราคาต้นทุนอยู่ที่ระดับประมาณ 2.79 บาทต่อหน่วย แม้ว่าค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะสูงกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินถึงประมาณ 2 เท่า แต่เนื่องจากเชื้อเพลิงยูเรเนียมมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นมาก ตัวอย่างเช่น ถ่านหิน 1 กิโลกรัม ผลิตไฟฟ้าได้ 3 หน่วย ขณะที่ ยูเรเนียม 1 กิโลกรัม ผลิตไฟฟ้าได้ถึง 3 แสนหน่วย ซึ่งหมายถึง ประสิทธิภาพด้านเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์สูงกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 1 แสนเท่า นั้นเอง



ตารางที่ 2 พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเชื้อเพลิง 1 กิโลกรัม




ที่มา: การไฟฟ้าผลิตฝ่ายแห่งประเทศไทย (2550)

แต่ในด้านจุดอ่อนของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เราก็ต้องดูให้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัยจากการรั่วไหลของกัมมันตรังสี และการจัดการกากกัมมันตรังสี ทั้งนี้ในการกำกับดูแลความปลอดภัยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จะต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามมาตรฐานของ IAEA ที่สำคัญ 3 ประการ คือ ความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Safety) ความมั่นคงปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Security) และการพิทักษ์ความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Safeguards) ซึ่งความรับผิดชอบโดยตรงเป็นของผู้ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และรัฐที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ตั้งอยู่ ซึ่งรัฐจะเป็นผู้กำกับดูแลความปลอดภัย และความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ซึ่งหน่วยงานที่สมควรทำหน้าที่นี้ของไทย คือ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) โดยการดำเนินการกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจความปลอดภัย และความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ในการเดินเครื่องปกติหรือในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ส่วนวัสดุนิวเคลียร์นอกจากกำกับดูแลโดยหน่วยงานของรัฐแล้ว ยังมีหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติคือ IAEA มาควบคุมดูแลอีกชั้นหนึ่งว่า ไม่นำเอาวัสดุนิวเคลียร์ที่ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ในการทำอาวุธนิวเคลียร์
กับคำถามที่ว่า ผู้คนยังเป็นห่วงกังวลเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีความคล้ายคลึงกับระเบิดนิวเคลียร์ที่มีประสิทธิภาพร้ายแรง กระทรวงพลังงานจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนว่าจริงๆ แล้วสมรรถนะหรือความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีหรือยูเรเนียม 235 มีเพียงแค่ 3-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ความเข้มข้นของการทำระเบิดต้องมีมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เพราะฉะนั้นความเข้มข้นไม่สูงเหมือนทำระเบิด นอกจากนี้ต้องให้ข้อมูลกับประชาชนว่า นโยบายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของไทยไม่ส่งเสริมการเสริมสมรรถนะ (Enrichment) และการนำเชื้อเพลิงใช้แล้วมาสกัดซ้ำ (Reprocessing) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เกี่ยวข้องกับกิจการไฟฟ้าเท่านั้นมิใช่การทำระเบิด
สิ่งที่คนกลัวประการถัดมา คือเรื่องความปลอดภัย จะเกิดเหตุระเบิดเหมือนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลที่สหภาพโซเวียตในปี 2529 ไหม? จะเป็นมะเร็งหรือไม่ ประเด็นนี้ขอชี้แจงว่า ต้องดูเรื่องของการออกแบบและเทคโนโลยี ปัจจุบันมีระบบการก่อสร้างอยู่ในรุ่นที่ 3 ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นลำดับแรก มีระบบป้องกันหลายขั้นตอน โดยเฉพาะตัวเตาปฏิกรณ์ มีเหล็กหล้าหนาถึง 6 มิลลิเมตร คลุม 1 ชั้น และมีปูนซิเมนต์ชนิดพิเศษหนาถึง 2 เมตร ครอบอีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลสู่ภายนอก ทำอันตรายต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ มีระบบควบคุมการ ขนส่งเชื้อเพลิงที่เคร่งครัด นอกจากนี้ ในเรื่องของการเปลี่ยนเชื้อเพลิงเมื่อเดินเครื่องครบ 18 เดือน เวลาเปลี่ยนจะนำเชื้อเพลิงใช้แล้วประมาณหนึ่งในสามไปแช่น้ำที่อยู่ภายในตัวอาคารโรงไฟฟ้า พอแช่น้ำไปแล้วประมาณ 3-5 ปี เพื่อลดระดับรังสีให้อยู่ในระดับปกติแล้ว นำขึ้นจากน้ำมาทำให้แห้งแล้วค่อยนำไปเก็บที่อาคารซึ่งอยู่ใกล้โรงไฟฟ้า หรือเก็บไว้ใต้ดินในระดับความลึกตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีนโยบายที่จะแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เนื่องจากมีเป้าประสงค์ในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในทางสันติเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตเป็นอาวุธนิวเคลียร์ สำหรับการเก็บและการกำจัดกากกัมมันตรังสี ซึ่งเป็นข้อห่วงกังวลของประชาชน ก็มีขบวนการดำเนินการตามมาตรการของ IAEA อย่างรอบคอบและเคร่งครัดเพื่อให้ความมั่นใจด้านความปลอดภัยกับชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า



สำหรับการปลดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (Decommissioning) เป็นการเลิกใช้งานโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เปรอะเปื้อนรังสี และการขนย้ายเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ออกจากแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ นำไปเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากคำแนะนำของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เพื่อที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติตามหลักสากล การจัดการปลดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มี 3 วิธี ดังนี้
1. รื้อถอนทันที (Immediate Dismantling)

2. ชะลอการรื้อถอน เป็นเวลา นาน 40-60 ปี (Safe store)

3. ไม่รื้อถอนเลย (Entombment)
สรุป ประเทศไทยจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อเป็นพลังงานเลือกใหม่ที่สำคัญในช่วง 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากทรัพยากรพลังงานซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะเริ่มหายากและไม่เพียงพอ ประกอบกับประเทศต้องหาหนทางในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน รวมทั้งเพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าอย่างมั่นคงด้วยต้นทุนค่าไฟฟ้าถูก ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจให้แก่ประเทศโดยรวม และประการสำคัญความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ในปัจจุบัน ก็มีความปลอดภัยเพียงพอและอยู่ในระดับที่เชื่อมั่นและไว้วางใจได้ ดังนั้นเราจึงไม่ควรปิดกั้นทางเลือกในการจัดหาไฟฟ้าให้แก่ประเทศด้วยพลังงานนิวเคลียร์ โดยจะต้องทำการศึกษาและเตรียมการอย่างจริงจัง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศไทยสมควรดำเนินการก่อสร้างในอนาคตหรือไม่ โดยหากประชาชนไทยตัดสินใจให้เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะ กฟผ. จะต้องรับผิดชอบร่วมกันที่จะดำเนินโครงการนี้ด้วยความมั่นคงและปลอดภัยเพียงพอ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ แก่ลูกหลานของเราในอนาคต



แผนภาพที่ 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจ และการยอมรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์



แผนภาพที่ 2 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ตารางที่3 สรุปขั้นตอนสำคัญของแผนงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
ระยะที่ 0.1 ปี 2550 เตรียมการขั้นต้น (เตรียมการศึกษา)

ระยะที่ 1 ปี 2551-2553 เตรียมเริ่มโครงการ

ระยะที่ 2 ปี 2554-2556 จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

ระยะที่ 3 ปี 2557-2562 ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

ระยะที่ 4 ปี 2563-2564 เดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์



ที่มา: สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (2550)



แผนภาพที่ 3 ขั้นตอนสำคัญของแผนงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์




2550 2554 2557 2563
ที่มา: สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (2550)



แผนภาพที่4 การจัดเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว ในบ่อน้ำและเก็บแบบแห้ง




ที่มา: สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (2550)




ประเทศไทยกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์

การแบ่งโรงงานไฟฟ้า



สัมภาษณ์ ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


โดย วิรุฬหกกลับ








ภาวะขาดแคลนพลังงานเป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ หลายประเทศเริ่มหันมาพึงพาพลังงานจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามก็เริ่มขยับเรื่องนี้อย่างเป็นจริงเป็นจัง ในขณะที่ประเทศไทย มีการใช้พลังจากหลายแหล่งและกว่า 60 เปอร์เซ็นต์จากพลังงานในระบบของประเทศ ไทยเราใช้พลังงาน จากก๊าซธรรมชาติที่ได้จากอ่าวไทยเป็นหลัก ซึ่งนับวันมีแต่จะร่อยหรอลงไป ในขณะที่แหล่งพลังงานอย่างอื่นเช่นพลังงานจากน้ำซึ่งต้องอาศัยการสร้างเขื่อนก็ดูไม่เหมาะกับประเทศไทยในปัจจุบันที่เริ่มพื้นที่ในการสร้างได้ยากยิ่งขึ้น ซ้ำประเด็นการอนุรักษ์ธรรมชาติก็เป็นเรื่องที่ถูกนำมาถกและพูดคุยกันอยู่เสมอ ดังนั้น เหมือนประหนึงว่าทางเลือกของแหล่งพลังงานจากไทยมีอยู่ไม่กี่ทางและ โครงการโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีการนำมาพูดคุยกันอยู่เสมอ ในขณะที่ความหวาดกลัวต่อปฎิกริยานิวเคลียร์ยังมีอยู่ทั่วไปในประชาชนคนไทยที่เกรงกลัวถึงภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ สิรินธร (SIIT) ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย เปิดเผยกับเราว่า


“ปัญหาเรื่องพลังงานของเมืองไทยนี้ จริงๆมันมีอยู่สองทาง คือการซื้อมาจากข้างนอก เช่น ไทยซื้อจากจีน จากลาว ก็ต้องลงทุน แต่มีความเสี่ยง ถ้าเขาไม่ขายให้เราก็แย่ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือการที่เราสามารถพึงตนเองได้ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ก็จะเป็นทางเลือกทางหนึ่ง ราคาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก อาจจะเพิ่มขึ้นแต่ว่าเพิ่มขึ้นไม่มาก ข้อดีอีกอย่าง คือการซื้อขายพลังงานพวกนี้จะมีการทำสัญญาที่ค่อนข้างจะยาวนาน เพราะฉะนั้นการซื้อขายในลักษณะนี้ การเปลี่ยนแปลงก็จะมีไม่ค่อยเยอะ อย่างเราตกลงกันแล้วเขาก็จะมีให้เรา
ทางด้านเชื้อเพลิงยูเรเนียมมีอยู่เยอะพอสมควรปัญหาการขาดแคลนยังมีอยู่น้อยความเหมาะสมกับของประเทศไทยที่จะโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มีอยู่มากเมื่อเทียบกับทางเลือกอย่างอื่น มันยังมีผลดีของทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ถ้าใช้พลังงานน้ำก็มีปัญหาทางด้านพื้นที่ ใช้ก๊าซเราก็ไม่มีมากนัก และที่สำคัญ ก๊าซปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ ขณะที่นิวเคลียร์ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นพิจารณา ในเรื่องนี้ความเหมาะสมเป็นองค์ประกอบหนึ่งไม่ใช่องค์ประกอบหลัก ถือว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งเป็นทางเลือกที่ดี ”.



ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์


สำหรับการตั้งโรงงานนิวเคลียร์ขึ้นมาต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการกลั่นกรองมากมาย โดยพื้นที่ก่อสร้างจะต้องไม่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในแนวแผ่นดินไหว ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ เพราะหากเกิดการเคลื่อนของแผ่นเปลือกโลกจากแนวแผ่นดินไหวขึ้นมาก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย กับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ทั้งยังต้องพิจารณาในประเด็นต่างๆอีกมากมาย เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยง เช่น ไม่อยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดสึนามิ เป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง ไม่อยู่ใกล้ชุมชนเกินไป ทั้งยังต้องไม่อยู่ในพื้นที่สำคัญเช่นอยู่ใกล้จุดสำคัญต่างๆเช่น เขตป่าสงวน แหล่งโบราณสถาน อุทยานแห่งชาติ หรือในทางด้านวิศวกรรมก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม เพื่อเลือกสถานที่ที่ไม่มีการยุบตัว


“การตั้งโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาสักแห่งต้องผ่านการพิจารณาที่ละเอียดถี่ถ้วนมากต้องมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆเข้ามาร่วมกันพิจารณา นอกจากกฎระเบียบต่างๆแล้ว ตัวอาคารที่สร้างโรงงานนิวเคลียร์เองนี้เขากำหนดไว้เลยว่าจะมีมากถึง 5 ชั้น ชั้นนอกสุดจะเป็นคอนกรีตที่หนาเกือบ 2 เมตร สมมติถ้า ในกรณีที่แย่ที่สุดคือเกิดการระเบิดขึ้นมามันก็จะไม่ทำให้โครงสร้างที่อยู่ข้างนอก ที่เป็นคอนกรีตนี้พังลงมาได้ เพราะฉะนั้นถ้าระเบิดมันก็อยู่ข้างในนั้ นทิ้งไว้ก็จะไม่มีอันตรายอะไรถ้าไม่มีใครไปยุ่ง เพียงแต่เสียพื้นที่ตรงนั้นไป แต่ขั้นตอนกว่าที่จะสร้างโรงงานขึ้นมาได้ มันใช้เวลานานมาก”


สำหรับประเทศไทยมีความคิดที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2517 โดยในขณะนั้นมีโครงการจะสร้างในบริเวณ อ่าวไผ่ จังหวัดชลบุรี แต่ในขณะนั้นได้มีการขุดพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จึงทำให้โครงการดังกล่าวหยุดชะงักไป ก่อนที่จะมีการนำมาปัดฝุ่นกันอีกครั้งในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาความเป็นไปได้ และเลือกสถานที่ในการก่อสร้าง


“ขณะนี้เริ่มมีการพิจารณาเรื่องการสร้างโรงงานนิวเคลียร์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเลือกสถานที่ ได้สถานที่ในเบื้องต้นมาหลายสถานที่ก็กำลังศึกษาในเชิงลึกว่าสถานที่ไหน เหมาะสมที่สุด ซึ่งตัวสถานที่ยังไม่สามารรถเปิดเผยได้
ถ้าจะสร้างก็คงมีความเป็นไปได้สูงว่าจะติดกับน้ำทะเลตรงบริเวณที่มีชายฝั่งมากกว่า เพราะโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องการปริมาณน้ำที่สูง การที่จะสร้างโดยใช้น้ำจืดค่อนข้างจะมีปัญหา เพราะหากมีการสร้างในแหล่งน้ำจืด ก็หมายความว่าเขาต้องเก็บน้ำเพื่อเก็บไว้ใช้ในโรงงานนิวเคลียร์ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อการเกษตร เพราะฉะนั้นวิธีการที่เราคิดกันก็คือสร้างในบริเวณที่ติดกับทะเลเพราะสามารถนำน้ำทะเลมาใช้ในโรงงานนิวเคลียร์ได้ ”


การสร้างโรงานไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็นต้องได้รับการฉันทานุมัติจากประชาชนซึ่งอาจจะมาในรูปของการทำประชาพิจารณ์และหากประชาชนชาวไทยเห็นพ้องต้องกันว่าต้องการให้สร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาจริงๆแล้วละก็จะมีการดำเนินงานก่อสร้างโดยแผนพลังงานของประเทศไทยกำหนดให้มีการสร้างโรงงานไฟฟ้าพำลังงานนิวเคลียร์ในระยะแรก 4 โรงย่อยอยู่ในบริเวณเดียวกัน โดย 1 โรงงานจะสามารถผลิตสามารถผลิตพลังงานได้ประมาณโรงละ 1,000 MW ซึ่งจะสามารถผลิตพลังงานเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบได้เป็นจำนวนประมาณ 4,000 MW ต่อปี ซึ่งถือว่า ช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านพลังงานของชาติได้เป็นจำนวนที่มากแม้ในปัจจุบันเราต้องการพลังงานที่ใช้ในแต่ละปีเป็นจำนวนถึงประมาณ 20,000 MW ต่อปี

ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเกี่ยวกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ถูกจัดให้อยู่ใน 3 Generation ซึ่งสามารถแบ่งโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ออกได้เป็น 3 แบบ คือ


1. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์น้ำเดือด (Boiling Water Reactor : BWR)
โดยอาศัยหลักการทำงานโดยการถ่ายทอดความร้อนของเชื้อเพลิงให้แก่น้ำจนกลายเป็นไอ และหมุนกังหัน ทำให้เกิดเป็นพลังงาน



เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด
ภาพจาก http://www.nst.or.th



2.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์ความดันสูง (Pressurized Water Reactor : PWR)
คล้ายคลึงกับแบบ Boiling Water Reactor (BWR)แต่แยกการทำงานเป็นสอง ลูปทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องสารกัมตภาพรังสีรั่วไหล แต่ข้อเสียคือต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่า แบบ Boiling Water Reactor (BWR)



เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใช้น้ำความดันสูง
ภาพจาก http://www.nst.or.th



3.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์น้ำมวลหนัก (Pressurized Heavy Water Reactor : PHWR)

มีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกับแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์ความดันสูง (Pressurized Water Reactor : PWR)แต่ใช้ ดิวทอเรียม (D2O) ซึ่งเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจนแทนที่น้ำ(H2O) ข้อดีของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบนี้คือใช้พลังงานเชื้อเพลิงน้อย แต่ข้อเสียคือ ดิวทอเรียม หาได้ยาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์น้ำมวลหนักเรียกอีกอย่างว่า candu เนื่องจากประเทศแคนนาดาเป็นผู้ผลิตโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบนี้



เครื่องปฏิกรณ์แบบใช้น้ำมวลหนัก
ภาพจาก http://www.nst.or.th


(* รายละเอียดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จะนำเสนอในโอกาสต่อไป)

ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์เผยว่าแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์ความดันสูง (Pressurized Water Reactor : PWR) และหากประเทศไทยมีการสร้างก็คงจะเลือกสร้างในแบบนี้เนื่องจากมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง

สิ่งที่ถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญของการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยคือความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ มองว่าประชาชนไทยยังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอทำให้เกิดความหวาดกลัวและยึดติดกับภาพการระเบิดของปฎิกริยานิวเคลียร์ในคราวสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวแทบจะเป็นไปไม่ได้เนื่องจาก การนำปฎิกริยานิวเคลียร์ไปสร้างเป็นระเบิดต้องใช้ความเข้มข้นของธาตุยูเรเนียมที่สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่การสร้างโรงงานนิวเคลียร์ใช้ความเข้มข้นเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นความเข้มข้นที่น้อยมากเมื่อเทียบกับระเบิดนิวเคลียร์ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน


“สิ่งที่จำเป็นคือการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนต้องให้เขาได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง สื่อต่างๆเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน และต้องให้ความรู้ทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น บอกว่าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์สามารถสร้างพลังงานราคาถูกได้นะ และเราก้ต้องบอกเขาด้วยว่า มันก็มีโอกาสที่ จะเกิด อุบัติเหตุแต่เรามีการป้องกันควบคุมที่ดีแล้วมันจะไม่เกิด คือต้องให้ข้อมูลเขาทั้งสองด้าน แล้วเขาจะเชื่อมั่นในว่า คิดคำนวณมาดีแล้วความเชื่อมั่นก็จะสูง
สถานศึกษาก็เป็นสิ่งสำคัญ การให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่ ต้องถ่ายทอดให้กับเขาถึงข้อดีข้อเสียและสิ่งที่ เทคโนโลยี หรือสิ่งต่างๆเกี่ยวกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ว่ามันไม่ได้อันตรายนะ
และอีกจุดหนึ่งที่ประชาชนควรจะทราบคือความจำเป็นของการมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ บางคนอาจจะไม่ทราบว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ กฟผ.เอง เขาต้องพยายามอย่างมากในการเสาะหาพลังงานมาให้ประเทศเราได้ใช้ไม่ใช่ว่า ตอนนี้ก็ยังมีไฟฟ้าใช้นี้ พลังงานนิวเคลียร์ จะเป็นทางเลือก จะสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในเชิงพลังงาน ”



โรงงานนิวเคลียร์
ภาพจาก http://blogazine.prachatai.com



สำหรับความคืบหน้าของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันซึ่ง ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์เป็นหัวหน้าโครงการอยู่ด้วยนั้น ในส่วนของการร่วมมือกับประเทศฝรั่งเศสได้มีการเดินทางไปดูงาน และจะมีการร่วมมือเพื่อทำการศึกษาร่วมกัน และในส่วนของความร่วมมือกับ IAEA ซึ่งเพิ่งมีการประชุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่นไปนั้นก็จะมีการพัฒนาในด้านต่างๆต่อไป


“กับฝรั่งเศสผมได้เดินทางไปดูงานมาเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ไปดูว่าเขาทำงานอย่างไร เครื่องไม้เครื่องมือเป็นอย่างไร เราก็ตกลงความร่วมมือกับเขา ซึ่งมีหลายส่วนที่เราจะร่วมมือกับเขาเช่นร่วมมือทางด้านการศึกษาร่วมมือเกี่ยวกับ ปรากฎการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น และเราจะควบคุมมันอย่างไรซึ่งก่อนจะควบคุมได้เราต้องเข้าใจ ก่อนหากไม่เข้าใจเราก็จะควบคุมมันไม่ได้อันนี้เราก็ได้ มีการแลกเปลี่ยนบุคคลากร รวมทั้งนักวิจัย อาจารย์ นักเรียนไปเรียนรู้ กับเขา ที่โน่นซึ่งมีระบบค่อนข้างดี มีห้องทดลองที่ค่อนข้างดี
ส่วนทาง AIEA ที่เราได้จัด ประชุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีของโรงนิวเคลียร์ฟิวชั่น โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก IAEA มา 3 ท่านให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ฟิวชั่นของเรา ซึ่งคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญนี้บอกว่าประเทศไทยควรมีแผนพัฒนา มีหลักสูตร เพื่อมาผลิตบุคลากรตรงนี้
เราวางแผนว่าเราจะสร้างห้องปฎิบัติการนิวเคลียร์ฟิวชั่นขึ้นมาในประเทศไทย ตอนนี้อยู่ในช่วงเขียนแผนเสนอให้รัฐบาล ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญเขาได้ให้โอกาสกับประเทศไทย โดยการส่งตัวแทนของเราไปร่วมศึกษากับเขาเป็นเวลา 1 เดือนโดยจะไปประมาณเดือนหน้า ก็จะอยู่ในประเทศโปรตุเกส หรือในประเทศเชคโกสโวเกียเป็นเวลา 1 เดือน จะไปดูว่าขั้นตอนการทำงานการดำเนินงานเป็นอย่างไรการประกอบห้อง lab ต้องมีองค์ประกอบอะไรไรบ้างที่จำเป็นต่อการสร้างในประเทศไทย ”


ในอนาคตโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิสชั่นจะสามารถมีขึ้นได้หรือไม่ในประเทศไทยก็คงต้องขึ้นอยู่กับการศึกษาความเป็นไปได้จากผู้เชขียวชาญในหลายสาขาวิชา และความเห็นพ้องต้องกันของประชาชนชาวไทย แต่เมื่อถามความเห็นของผู้เชียวชาญอย่าง ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์แล้ว ดร.ธวัชชัย ค่อนข้างเชื่อมั่นว่าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสังคมไทยในสภาวะการณ์ในปัจจุบัน


“ต้องมีแน่นอนเราไม่มีทางเลือกตอนนี้เพราะทุกวันนี้ความต้องการของเราทางพลังงาน เพิ่มมาขึ้นเรื่อยๆประชากรก็มากขึ้น เราใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเราต้องการปริมาณที่มหาศาลมากดังนั้นทางออกกก็คือไม่ถ่านหินและนิวเคลียร์ ซึ่งประเทศไทยไม่มี ถ่านหิน เราพอมีแต่ไม่มากพออย่างตอนนี้ถ่านหินที่เราใช้อยู่ เราต้องไป ซื้อจากอินโดนีเซีย ปัญหาของถ่านหินก็คือเขม่าและคาร์บอนไดออกไซต์ ถ้า เรารวมเทคโนโลยีของตัวใหม่ ที่เราต้องนำมาใช้คือคาร์บอนแคปเจอร์เพื่อลดปริมาณของคาร์บอนที่เราต้องใช้ไป ก็จะทำให้ต้นทุนของถ่านหินมีมากขึ้น
ราคาก็จะใกล้เคียงหรือแพงกว่าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ทันที หรือที่เขาพูดกันบ่อยๆเรื่องคาร์บอนเครดิตว่าประเทศไหนที่ ปล่อยคาร์บอนมากก็จะต้อง จ่ายเงินมาก ทำให้ราคา ของไฟฟ้าต่อ หน่วย ก็จะสูงกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พอถึงตอนนั้นโรงงานนิวเคลียร์จะเป็นสิ่งที่ให้พลังงานที่ราคาถูกที่สุดและมีปริมาณ ที่เพียงพอต่อความต้องการของเราได้ มันต้องมีแน่นอน เพียงแต่ว่าถ้าคนไทยยอมจ่ายค่าไฟฟ้าราคาแพงได้ เราก็ไม่จำเป็นแต่ถ้าต้องการพลังงานราคาถูกก็จำเป็นต้องใช้ ”

ข้อมูลจาก วิชาการ.คอม

เอนไซม์ในกระเพราะวัวช่วยสร้างพลังงานทดแทน

เอนไซม์ในกระเพราะวัวช่วยสร้างพลังงานทดแทน   


The researchers placed mesh bags of switchgrass in the cow rumen to isolate those microbes that adhere to the grass and the microbial enzymes that help break down plant biomass. This effort yielded dozens of new candidate enzymes for biofuel production. (Credit: L. Brian Stauffer)

ระบบย่อยอาหารของวัวนั้นทำให้วัวสามารถกินพืชผลได้มากกว่า 150 ปอนด์ต่อวัน ล่าสุด นักวิจัยรายงานว่า ได้ค้นพบว่า เอนไซม์จุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะรูเมนของวัว สามารถนำมาย่อยสลายต้นหญ้าเพื่อนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
งานวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะพัฒนาพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพจากสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แทนที่จะหันไปพึ่งการหมักน้ำตาลที่ได้จากธัญพืช เช่น จากข้าวโพด พืชราก หรืออ้อย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอุปสรรคต่ออุปทานอาหาร นักวิจัยได้พยายามหาวิธีการเปลี่ยนใบไม้และลำต้นของหญ้า หรือไม่ก็ต้นไม้ไปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาที่เป็นของเหลวให้ได้ เพราะเชื่อว่าเชื้อเพลิงชีวภาพ "รุ่นที่สอง" นี้น่าจะเป็น"คาร์บอนโดยธรรมชาติ" ที่มนุษย์กำลังต้องการได้อย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากมนุษย์ต้องการจะให้สิ่งเหล่านี้มาช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ แต่กระบวนการเปลี่ยนหญ้าหรือต้นไม้เหล่านี้สามารถให้พลังงานได้นั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย
"ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สองนี้ก็คือปัญหาที่ว่าจะปลดล็อกน้ำตาลจากอ้อยที่อยู่ในผนังเซลล์ของพืชได้อย่างไร"ศาสตราจารย์โรเดริค มัคกี้ แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ชี้แจง
นักวิจัยจึงได้ดำเนินการศึกษาจนกระทั่งค้นพบว่า สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อยู่ในกระเพาะวัวนี้นำไปสู่วิธีการใหม่ได้
"วัวทำแบบนี้มานานหลายล้านปีแล้วนะ และเราก็อยากจะศึกษากลไกที่วัวใช้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเอ็นไซม์ตัวไหนที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพได้"
งานวิจัยชิ้นนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2008 โดยมัคกี้และศาสตราจารย์แมทเธียส เฮสส์ มหาวิทยาลัยมลรัฐวอชิงตันได้ใช้เทคนิคการศึกษาสารอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยได้วางกระเป๋าเล็กๆที่บรรจุพืชตระกูลถั่วหรือไม่ก็ต้นหญ้าลงไป พร้อมกับติดกล่องที่พร้อมจะส่งเข้าไปในกระเพาะรูเมนของวัว เพื่อทำการศึกษาว่าสารจุลินทรีย์ที่ติดอยู่ตามพืชแต่ละชนิด หลังจากผ่านไป 2-3 วันก็นำพืชอกมาวิเคราะห์ทางภาพและเคมี จนสามารถแสดงได้แล้วว่า จุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะรูเมนนี้จะช่วยย่อยพืชทั้งสองประเภทได้ โดยพืชแต่ละชนิดก็จะมีจุลินทรีย์เกาะไม่เหมือนกัน
"ด้วยเหตุนี้ จึงมีการทำการทดลองเพิ่มเติมเพื่อค้นหาเทคนิคที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ค้นหาจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของวัวที่จะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการย่อยพืชแต่ละประเภท"มัคกี้กล่าวต่อ
ในการศึกษานี้ นักวิจัยเน้นไปที่หญ้าที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานเชื้อเพลิงได้ เมื่อใส่หญ้าเข้าไปในกระเพาะรูเมน 72 ชั่วโมงแล้ว นักวิจัยก็เริ่มวิเคราะห์จีโนมของจุลินทรีย์ทุกชนิดที่ติดมากับหญ้านี้ และเทคนิคเมตาจีโนมิกนี้ก็สามารถวิเคราะห์ยีนของจุลินทรีย์ได้ทั้งหมด จนได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้นว่า อันที่จริงแล้ว จุลินทรีย์ทุกตัวเลยในกระเพาะรูเมนที่ก่อให้เกิดการผุสลายของพืชขึ้น
"แบคทีเรียก็เป็นจุลินทรีย์ พวกมันไม่ได้มีชีวิตเดี่ยวๆ พวกมันจะอยู่ในคอนซอร์เตีย" มัคกี้กล่าว
เมื่อใช้เทคนิคหลายๆอย่างแล้ว นักวิจัยได้เรียบเรียงและวิเคราะห์หา DNA ทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง จนกระทั่งได้ข้อมูลของยีนคาร์โบไฮเดรตเอกทีฟจำนวน 27,755 ยีน กระบวนการในร่างกายจะทำให้มีการโคลนยีนนี้ไปยังแบคทีเรีย และจะมีการสร้างโปรตีนขึ้นมา 90 ชนิด นักวิจัยค้นพบว่า โปรตีนเหล่านี้กว่า 57 เปอร์เซ็นต์นั้นมีกิจกรรมทางเอนไซม์กับต้นพืชด้วย
"นักวิจัยจึงได้รวบรวมและได้ออกมาเป็นจีโนม 15 แบบ" เฮสส์กล่าวถึงการศึกษาใหม่"เทคนิคหลายๆอย่างรวมถึงการจัดลำดับจีโนมของสิ่งมีชีวิตแต่ละเซลล์แล้วนำมาประกอบกันนั้นจะช่วยยืนยันเทคนิคของเราได้นั่นเอง"
งานวิจัยครั้งนี้ระบุชัดเจนว่า กระเพาะของวัวนั้นเป็นแหล่งที่อยู่ของจุลินทรีย์ที่ดีที่สุด สำหรับการสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยพืช เพื่อนำมาทำเป็นพลังงานทดแทนต่อไป

Natty_sci จาก วิชาการ.คอม

บนเส้นทาง...พลังแห่งความยั่งยืน

บนเส้นทาง...พลังแห่งความยั่งยืน
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของวารสารพลังไทย และ วิชาการ.คอม
http://www.pttplc.com/TH/Default.aspx




กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ

กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วยการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ ดำเนินการโดยบริษัทย่อยของ ปตท. คือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) และหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ซึ่งทำหน้าที่จัดหาก๊าซธรรมชาติจากทั้งในและต่างประเทศ ขนส่งก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อส่ง แยกก๊าซธรรมชาติและจัดจำหน่าย นอกจากนั้นยังมีการลงทุนในบริษัทในกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

ปตท. ดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมผ่านบริษัทย่อยได้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) โดย ปตท. ถือหุ้นใน ปตท.สผ. สัดส่วนร้อยละ 65.73 ของทุนที่ออกและชำระแล้วของ ปตท.สผ. ซึ่งส่งผลให้กลุ่ม ปตท. ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติอย่างครบวงจร

ปัจจุบัน ปตท.สผ. มีการลงทุนในประเทศไทย จำนวน 15 โครงการ ลงทุนในพื้นที่คาบเกี่ยว 2 โครงการ และลงทุนในต่างประเทศ 21 โครงการ อยู่ในประเทศสหภาพพม่า เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย โอมาน แอลจีเรีย อียิปต์ อิหร่าน บาห์เรน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ

เป็นหน่วยงานภายในของ ปตท. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ ดังต่อไปนี้

การจัดหาก๊าซธรรมชาติ

ปตท. เป็นผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติจากผู้ขายก๊าซธรรมชาติภายใต้สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 14 ฉบับ แบ่งเป็นสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติในประเทศจำนวน 12 ฉบับ ได้แก่สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติยูโนแคล 1 (แหล่งเอราวัณ), สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติยูโนแคล 2-3, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติแหล่งบงกช, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งไพลิน, สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งทานตะวัน/เบญจมาศ, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งน้ำพอง, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเจดีเอ A-18, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเจดีเอ B-17&C-19 และ B17-01 และสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งภูฮ่อม, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยูโนแคล 123 (ส่วนเพิ่ม), สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์เหนือ และสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งต่างประเทศ อีกจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาและแหล่งซื้อก๊าซธรรมชาติแหล่งยาดานาและแหล่งซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเยตากุนในสหภาพพม่า

ทั้งนี้ การจัดหาก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ส่วนใหญ่จะมาจากแหล่ง/แปลงสัมปทานก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย โดยมีปริมาณและสัดส่วนการจัดหาก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงปี 2548-2550



ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

เมื่อผู้ขายก๊าซธรรมชาติได้ส่งมอบก๊าซธรรมชาติให้กับ ปตท. ที่จุดส่งมอบแล้ว ก๊าซธรรมชาติทั้งหมดจะถูกส่งไปยังลูกค้าต่างๆ โดยผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

ปัจจุบัน ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. (รวมท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ขอใช้โดยมีค่าตอบแทนจากกระทรวงการคลัง) มีความยาวรวมประมาณ 3,180 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยระบบห่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก ความยาวประมาณ 1,397 กิโลเมตร และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล ความยาวประมาณ 1,783 กิโลเมตร (ไม่รวมระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ หรือ Distribution Pipeline อีกประมาณ 770 กิโลกรัม) โดยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. จะต่อเชื่อมแหล่งก๊าซธรรมชาติต่างๆ ในอ่าวไทย และท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาและเยตากุน สหภาพพม่า ที่ชายแดนไทย – สหภาพพม่า เข้ากับผู้ผลิตไฟฟ้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติและลูกค้าอุตสาหกรรม

ภายในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ยังประกอบด้วยหน่วยควบคุมจุดกลั่นตัวของก๊าซธรรมชาติ (Dew Point Control Unit) และอุปกรณ์รวมก๊าซธรรมชาติ (Common Header) ซึ่งเป็นกระบวนการเพื่อควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติจากแหล่งต่างๆ ในอ่าวไทยให้มีค่าความร้อนคงที่เป็นหนึ่งเดียวและมีคุณภาพเดียวกันทั้งระบบ

การจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ

ปตท. จัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ให้กับกลุ่มลูกค้าผู้ผลิตไฟฟ้า ได้แก่ กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมโดยตรงผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบัน ปตท. มีลูกค้าอุตสาหกรรมทั้งสิน 244 ราย นอกจากนี้ ปตท. ยังได้นำก๊าซธรรมชาติบางส่วนผ่านเข้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท.โดยผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะถูกจำหน่ายผ่านหน่วยธุรกิจน้ำมันของ ปตท.

โรงแยกก๊าซธรรมชาติ

นอกจาก ปตท. จะจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าโดยตรงแล้ว ปตท. ได้นำก๊าซธรรมชาติบางส่วนผ่านเข้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. เพื่อเพิ่มมูลค้าให้กับก๊าซธรรมชาติและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ประกอบด้วย ก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้ม และก๊าซโซลีนธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้

ปัจจุบัน ปตท. เป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ในประเทศไทย มีโรงแยกก๊าซธรรมชาติทั้งสิ้น 5 โรง มีความสามารถแยกก๊าซธรรมชาติได้สูงสุด 1,710 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าปิโตรเคมีจะเป็นไปตามสูตรราคาที่ตกลงกับลูกค้าเป็นรายๆ ไปโดยจะอ้างอิงกับราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลก ส่วนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ก๊าซหุงต้ม) และก๊าซโซลีนธรรมชาติซึ่งจัดจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกผ่านหน่วยธุรกิจน้ำมันของ ปตท. จะอิงกับราคาตลาดโลก

โครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์

เพื่อส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในภาคขนส่ง ลดผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ ที่สนับสนุนให้ใช้เชื้อเพลิงที่สามารถจัดหาได้จากแหล่งภายในประเทศ ปตท. ได้เริ่มนำ NGV (Natural Gas Vehicles) มาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถโดยสารประจำทาง NGV ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตั้งแต่ปี 2536 และมีการขยายตลาด NGV อย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมียานยนต์ที่ใช้ NGV ประมาณ 55,868 คัน โดยมีสถานีบริการก๊าซ NGV ที่เปิดบริการแล้ว 166 สถานี กรุงเทพฯ และปริมณฑล 90 สถานี ต่างจังหวัด 76 สถานี และมียอดจำหน่าย NGV เฉลี่ยเดือนธันวาคม 2550 ประมาณ 36.5 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันโดย ปตท. มีเป้าหมายให้ใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันในภาคขนส่งร้อยละ 20 เป็นปริมาณ 417 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2555

กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย

กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลายประกอบด้วยหน่วยธุรกิจน้ำมันรับผิดชอบการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยมีสายงานสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ หน่วยบริหารและปฏิบัติการคลัง การบริหารและการจัดหา และจัดส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และการขายก๊าซปิโตรเลียมเหลวในตลาดขายส่งให้แก่ผู้ค้าตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันและปิโตรเคมี และหน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเคมีและการกลั่น

หน่วยธุรกิจน้ำมัน

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ปตท. จำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย 2 ช่องทางหลัก ได้แก่

การตลาดค้าปลีก ซึ่งเป็นการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นผ่านเครือข่ายสถานีบริการน้ำมัน ปตท.ปัจจุบันมีจำนวน 1,198 แห่ง ถึงแม้ว่าการแข่งขันเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดยคู่แข่งจะทวีความรุนแรงขึ้น ปตท. ยังสามารถมีส่วนแบ่งการตลาดในระดับสูงที่สุดอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 15 และในขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ปตท.ชะลอการปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลช้ากว่าผู้ค้าน้ำมันรายอื่นเพื่อรับภาระแทนผู้บริโภค

นอกจากนั้น ปตท. ยังได้พัฒนาสถานีบริการแบบครบวงจร เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่ที่ทันสมัยและสะดวกสบาย โดยใช้กลยุทธ์ในการลงทุนธุรกิจเสริมต่างๆ เช่น ร้านค้าสะดวกซื้อภายในสถานีบริการ ร้านอาหาร ศูนย์บริการน้ำหล่อลื่น บริการล้างรถอัตโนมัติร้านกาแฟและธนาคาร เป็นต้น รวมถึงพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าน้ำมันมากขึ้น

การตลาดพาณิชย์ เป็นการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม บริษัทสายการบิน การเดินเรือขนส่ง หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ กลุ่มลูกค้าก๊าซหุงต้ม และการจัดจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศนอกเหนือจากการจัดจำหน่ายใน 2 ส่วนหลักๆ แล้ว ยังมีการจัดจำหน่ายน้ำมันประมงในเขตต่อเนื่อง 12-24 ไมล์ทะเล และการจัดจำหน่ายน้ำมันในทะเลนอกราชอาณาจักรอีกด้วย


หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งแบ่งออก เป็นธุรกิจการค้าน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี การบริหารความเสี่ยงจากการค้าน้ำมัน และการจัดหาการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ กิจกรรมในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ครอบคลุมการจัดหาและการค้าระหว่างประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ ปตท. และบริษัทในกลุ่มในการแข่งขันทำกำไร และเพื่อพัฒนาความสามารถในการทำกำไรจากการค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เนื่องจากในอดีตประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมาโดยตลอด ปตท. จึงมีความคุ้นเคยกับธุรกรรมประเภทนำเข้า (OUT-IN Trading) แต่หลังจากการเปิดดำเนินการของโรงกลั่นน้ำมันระยอง และสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง ทำให้รูปแบบธุรกรรมเปลี่ยนไปเป็นแบบส่งออก (IN –OUT Trading) กล่าวคือ การส่งน้ำมันสำเร็จรูปส่วนเกินจากความต้องการในประเทศออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ส่วนธุรกรรมแบบการค้าในต่างประเทศ (OUT – OUT Trading) นั้น เป็นรูปแบบธุรกรรมหนึ่งที่ดำเนินการโดย ปตท. ซึ่งจะสามารถทำกำไรได้จากส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาขายซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด

การดำเนินธุรกิจการค้าสากล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1. ธุรกิจการค้าน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ปตท. ดำเนินธุรกิจการจัดซื้อ การขาย การค้าและการขนส่งน้ำมันดิบและคอนเดนเสทจากแห่งในประเทศและต่างประเทศให้กับโรงกลั่นรวมถึงการวิเคราะห์หาโอกาสทางการค้า การแลกเปลี่ยน (Physical Swap) การจ้างกลั่น (Processing) น้ำมันดิบและคอนเดนเสทเพื่อผลกำไรและความสมดุลในระบบ รวมทั้งการดูแลให้มีการใช้น้ำมันดิบและคอนเดนเสทที่ผลิตได้ในประเทศอย่างคุ้มค่า

2. ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง ปตท. ดำเนินการจัดหา นำเข้า ส่งออก และทำการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการวิเคราะห์หาโอกาสในการทำการค้า การแลกเปลี่ยน น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดและก๊าซปิโตรเลียมเหลว ทั้งนี้ได้จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นในประเทศทั้งในส่วนที่ ปตท. ถือหุ้นและที่ไม่ได้ถือหุ้นเพื่อนำไปส่งออกในตลาด รวมถึงการทำธุรกรรมอื่นๆ เช่น การทำ Location Swap และการทำ Blending เป็นต้น

3. ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ปตท. ดำเนินการจัดหาวัตถุดิบสำหรับโรงงานปิโตรเคมีของบริษัทในกลุ่ม และดำเนินการค้าและการตลาดผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลัก และผลิตภัณฑ์พลอยได้จากโรงงานปิโตรเคมี โดยครอบคลุมตลาดในประเทศและต่างประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสี ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมน้ำมัน

ปตท.เป็นผู้ทำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) และยังเป็นตัวกลางส่งออกผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท อัลลายแอนซ์รีไฟน์นิ่ง จำกัด และบริษัทอื่นๆ โดยวิธีการเข้าไปประมูลราคา

เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน ปตท. ยังได้มีสายงานสนับสนุนในการบริหารความเสี่ยงจากการค้าน้ำมัน และการจัดหาการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศอีกด้วย

หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น

ปตท.ได้ลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นผ่านบริษัทในเครือ ซึ่ง ปตท. มีการทำธุรกิจในลักษณะปกติทั่วไป (Arm’s Length Basis) โดยบริษัทหลักที่ ปตท.เข้าร่วมลงทุน มีดังนี้ 1.บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 3.บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด 4.บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 5.บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด 6.บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด 7.บริษัท พีทีที โพลีนเมอร์โลจิสติกส์ จำกัด 8.บริษัท เอ็นพีทีซี เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง เซอร์วิส เซส จำกัด 9.บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 10.บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) 11.บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด 12.บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

ธุรกิจปิโตรเคมี ปตท. ลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรผ่านบริษัทในกลุ่มรวมทั้งสิ้น 8 บริษัท ซึ่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และเม็ดพลาสติก พร้อมดำเนินธุรกิจการตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้บริการสาธารณูปโภคและโลจิสติกส์ครบวงจร

ธุรกิจการกลั่น ปตท. ลงทุนในธุรกิจโรงกลั่นผ่านบริษัทในกลุ่มรวมทั้งสิ้น 4 บริษัท โดยดำเนินธุรกิจขายน้ำมันดิบ ที่ ปตท.จัดหามาจากแหล่งน้ำมันในประเทศและต่างประเทศให้กับโรงกลั่นทั้ง 4 บริษัท ซึ่งน้ำมันดิบจากแหล่งในประเทศทั้งหมดจะขายให้กับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นอกจากนั้น ยังรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปจากทั้ง 4 โรงกลั่น เพื่อจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่ ปตท. รับซื้อจะอ้างอิงจากสัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ในบริษัทนั้นๆ

การกำกับดูแลกิจการ

ปตท. เป็นบริษัทจดทะเบียนที่บริหารจัดการธุรกิจด้วยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาโดยตลอด นับตั้งแต่แปลงสภาพเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2544 โดยคณะกรรมการได้จัดให้มีนโยบายกำกับดูแลกิจการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งผลของการดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังกล่าว คือ การได้รับรางวัล ได้รับการจัดอันดับจากองค์กร/หน่วยงาน/สถาบันของภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศตลอดมา ดังปรากฏจากรางวัลต่างๆ ที่ได้รับในปี 2550 อาทิ

รางวัล Asia’Best Managed and Governed Companies Poll 2008 โดยนิตยสาร Euromoney จำนวน 5 รางวัล

รางวัล Recognition Awards 2007, The Best of ASIA โดยนิตยสาร Corporate Governance Asia ของประเทศฮ่องกง

รางวัลคณะกรรมการแห่งปีดีเลิศ (Board of The Year for Exemmplary Practices) ประจำปี 2549/50 และรางวัลประกาศเกียรติคุณพิเศษสำหรับคณะกรรมการบริษัทที่มีผลงานดีต่อเนื่อง (ต่อเนื่อง 3 ครั้ง) โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2550 โดยกระทรวงการคลัง 3 รางวัล

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award (TQA) 2006 แก่โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง โดยคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550

คณะกรรมการ ปตท.มีเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูกิจการที่ดี โดยนำหลักเกณฑ์การกับดูแลกิจการที่ดี และระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาเป็นปัจจัยหลักในการเสริมสร้างองค์กรให้มีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นพื้นฐานของการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดย ปตท. ได้มีการกำหนดไว้ในข้อบังคับของ ปตท. ว่า “บริษัทฯ ต้องจัดทำนโยบายเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ ตลอดจนจริยธรรมในการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ฝ่ายจัดการ และพนักงาน ตามระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติขององค์กรที่ได้มาตรฐานและเป็นแนวทางที่ถูกต้อง” และจากข้อบังคับบริษัทดังกล่าว ได้มีการจัดทำเป็นระเบียบบริษัทว่าด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตั้งแต่ปี 2544 พร้อมทั้งจัดทำคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท. ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีได้กำหนดจรรยาบรรณและข้อพึ่งปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการรวมทั้งได้พิจารณาทบทวน ปรับปรุงเนื้อหาในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท. ฉบับเดิม เพื่อให้มีความสมบูรณ์และเป็นไปตามหลักสากลปฏิบัติยิ่งขึ้น โดยการจัดลำดับหัวข้อและเพิ่มเติมสาระให้ครบถ้วน เพื่อให้ครอบคลุมเรื่องการปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นการส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิโดยครอบคลุมสิทธิพื้นฐานตามกฎหมาย เช่น การมีส่วนแบ่งในกำไรของกิจการ การซื้อขายหรือโอนหุ้น การได้รับข่าวสารข้อมูลของกิจการอย่างเพียงพอ การเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ กำหนดค่าตอบแทนกรรมการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชี และเรื่องที่มีผลกระทบต่อบริษัท ซึ่งเนื้อหาจะสอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังกล่าวข้างต้น โดยจัดพิมพ์เป็นคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1/2548 ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานลงนามรับทราบและถือปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งได้พิจารณานำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท. มาเป็นแนวทางปฏิบัติ

หลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจและการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.

1. ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ และการกระทำของตนเองและสามารถชี้แจง/อธิบายการตัดสินใจนั้นได้ หรือ Accountability

2. ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ หรือ Responsibility

3.การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และมีคำอธิบายได้ หรือ Equitable Treatment

4. ความโปร่งใสในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย หรือ Transparency

5. การมีวิสัยทัศน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการในระยะยาวหรือ Vision to Create Long Term Value

6. การมีจริยธรรม/จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ หรือ Ethics


คุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้าง ปตท. สู่การเป็นบริษัทไทยชั้นเลิศในเวทีระดับนานาชาติ (Build the Premier Thai Multinational) ทำให้ ปตท.ยิ่งเพิ่มความใส่ใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น โดยในส่วนของการบริหารระบบคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Quality, Safety, Health and Environment : QSHE) :ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้มีการวิเคราะห์และประเมินโดยพิจาณาถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาว่างแผนกำหนดนโยบาย ทิศทางการบริหาร จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ

ปตท. ได้เลือกสรรเครื่องมือ มาตรฐาน ตลอดจนเทคโนโลยีควบคุมความเสี่ยงในระดับมาตรฐานสากลมาประยุกต์ใช้ในองค์กรซึ่งจากการบริหารจัดการตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ในกลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติอย่างจริงจัง ทำให้โรงแยกก๊าซธรรมระยองได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2549 จากนั้นได้ขยายการบริหารจัดการมายังสายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และสามารถผ่านเกณฑ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) ในปี 2550

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ QSHE อื่น ๆ ที่สำคัญอาทิ

การควบคุมและป้องกันความสูญเสียด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ นอกจากการดำเนินงานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก./OHSAS18001 แล้ว ปตท. ได้มุ่งเน้นไปที่การดำเนินการเชิงป้องกันเพื่อควบคุมและเฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อพนักงานและแรงงานจ้างเหมา อาทิ จัดหาแนวปฏิบัติที่ดีในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ผลักดันให้มีการรายงานเหตุการณ์เกือบอุบัติเหตุจัดทำคู่มือการขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัยและระเบียบปฏิบัติในการใช้รถยนต์ ผลักดันให้บริษัทแรงงานจ้างเหมาจัดให้มีการตรวจสุขภาพทางอาชีวอนามัยตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคจิตติดต่อร้ายแรง เป็นต้น

นอกเหนือไปจากพนักงานและแรงงานจ้างเหมาแล้ว ปตท.ยังคำนึงถึงผู้ส่งมอบ ผู้รับเหมา และลูกค้า อาทิ การสนับสนุนการติดตั้งระบบน้ำดับเพลิงฉุกเฉินให้โรงบรรจุก๊าซหุงต้มเอกชนการจัดทำคู่มือการดำเนินงานด้าน QSHE สำหรับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และตรวจสอบการดำเนินการอย่างเคร่งครัดทั้งสถานีบริการที่เป็นของ ปตท. เอง รวมไปถึงสถานีบริการที่เป็นของตัวแทนจำหน่าย

การบริหารจัดการเพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปตท. มุ่งเน้นการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก และให้ความสำคัญในภาพของสายโซ่ธุรกิจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งได้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม” ดูแลการบริหารจัดการทั้งด้านเทคนิค สิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์/มวลชนสัมพันธ์ตลอดจนดำเนินการตรวจสอบและจัดทำฐานข้อมูลการระบายมลพิษเพื่อจัดทำแผนมลพิษของทั้งระยะสั้นและระยะยาว คิดเป็นเงินลงทุนเพื่อปรับลดมลพิษของทั้งกลุ่ม ปตท. กว่า 10,000 ล้านบาท รวมทั้งเข้าร่วมในโครงการจัดทำฐานข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory Database)ของประเทศไทย และวางแผนที่จะนำหลักการจัดหาพัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาปฏิบัติอีกด้วย

การศึกษา PTT Group Strategic Direction on Climate Change ปตท. ได้ดำเนินการศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมกระบวนการทำงานโดยตรงในภาพรวมของกลุ่ม ปตท.เพื่อนำมาวางแผน กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ในการควบคุมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ปตท. ได้พัฒนาโครงการบริหารคุณภาพ/เพิ่มผลผลิต โดยมีพื้นฐานเกณฑ์การดำเนินโครงการฯมาจากเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) โดยนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของหน่วยงานระดับฝ่าย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดความคิดเชิงนวัตกรรม และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างครบถ้วน
การเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการด้านคุณภาพและความปลอดภัย ปตท. ได้ริเริ่มนำ การดำเนินงาน TPM (Total Productive Maintenance ) ตามแนวทาง JIPM (Japan Institute of Plant Maintenance) มาประยุกต์ใช้ เพื่อควบคุมความเสี่ยงในกระบวนการทำงานการผลิตให้มีความต่อเนื่องสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการได้ตรงตามความต้องการและเวลาที่ลูกค้ากำหนด รวมทั้งเกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


การพัฒนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปตท. ร่วมเป็นแกนนำ ตลอดจนเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อเป็นกลไกผลักดันสู่ความยั่งยืนขององค์กรและของประเทศ อาทิ กลุ่มองค์กรเครือข่ายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก (World Business Council for Sustainable Development : WBCSD) คณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Business Council for Sustainable Development : TBCSD) องค์กรความร่วมมือระหว่างบริษัทน้ำมันของประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Council on Petroleum : ASCOPE) และสมาชิก Oil Spill Response & East Asia Response Limited : OSRL/EARL สำหรับการสนับสนุนการขจัดคราบน้ำมันหกล้นในทะเล เป็นต้น

ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืน

ในปี 2550 ซึ่งเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษาครบ ๘0 พรรษา แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปตท. ถือเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดตัว โครงการ “รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง” เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในตำบลต่างๆ โดยมีเป้าหมาย 84 ตำบลทั่วประเทศ ที่สำคัญโครงการนี้เป็นการสานต่อจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ ที่ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในการดูแลรักษาป่าให้ต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาที่จิตใจของชุมชนให้รักษ์ป่าและพัฒนาตนเองได้อย่างเข้มแข้งภายใต้วิถีพอเพียง

นอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว ปตท. ได้มุ่งมั่น ทุ่มเท พลังใจ สร้างสรรค์และสนับสนุนกิจกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนสังคมและประเทศชาติ ด้วยความยึดมั่นจรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องเสมอมา
สังคมและชุมชน ปตท. พร้อมให้ความช่วยเหลือทุกครั้งที่เกิดภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะในยามที่พี่น้องชาวไทยต้องประสบกับความเดือดร้อน อาทิ โครงการกรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจสู้ภัยแล้ง ปตท. ร่วมใจต้านภัยหนาว ตลอดจนมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก เพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการ PTT Tune Up ช่วยชาติประหยัดพลังงาน โครงการขับขี่ปลอดภัยรักวินัยจราจร โครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจราจร โครงการปันน้ำใจชุมชนซึ่งเปิดคลินิกรักษาพยาบาลฟรีและจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าบริการตรวจรักษาและให้ความรู้เบื้องต้นทางสาธารณสุขแก่ชุมชน สนับสนุนมูลนิธิกองทุนระยองแข็งแรง การสนับสนุนสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน


สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดูแลการจัดการให้มีผลกระทบน้อยที่สุดแล้ว ปตท.ยังดูแลรักษาป่าร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรอบพื้นที่อย่างเข้มแข็ง ตลอดจนขยายผลสู่โครงการต่อเนื่องและกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีก ได้แก่ โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โครงการรางวัลลูกโลกสีเขียว โครงการทองผาภูมิตะวันตก โครงการจัดการทรัพยากรชีวภาพชายฝั่งทะเลถึงยอดเขา พื้นที่หาดขนอม – เขานัน โครงการค่ายเยาวชน ปตท. อนุรักษ์ทะเลไทย นอกจากนั้น ปตท. ยังได้สร้าง “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕0 พรรษา” ในสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.ระยองซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สมุนไพรกว่า 270 ชนิด และเป็นสวนแห่งการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ของภาคตะวันออก รวมทั้งจัดทำโครงการสร้างสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ มาบตาพุด โครงการระยองเมืองสีเขียว สนับสนุนมูลนิธิกองทุนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองมาบตาพุดและบ้านฉาง จ.ระยอง และสนับสนุนการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ณ วิทยาเขตโป่งสลอดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อีกด้วย

การศึกษา ปตท. ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน หรือ สสวช. ร่วมกับ 15 สถาบันการศึกษาเปิด “โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต” มีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิตจากกลุ่มผู้นำชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่นนอกจากนั้น ปตท. ยังมีโครงการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารห้องสมุด ปตท. “พลังไทย เพื่อไทย” นับตั้งแต่ปี 2536 และมีการส่งเสริมความรู้สู่เยาวชนในหลากหลายรูปแบบ อาทิ โครงการรถนิทรรศการเคลื่อนที่ “ เปิดโลกก๊าซธรรมชาติ” โครงการค่ายสะพานความรู้สู่ท้องถิ่น โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์พลังงาน Generation P โครงการความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพช่างเทคนิค และโครงการ ปตท. (5ส) สู่โรงเรียน โครงการ ปตท.ร่วมสานฝันนักประดิษฐ์ใช้พลังงานอย่างยั่งยืน อีกทั้งสนับสนุนการจัดแข่งขัน Money Management Award 2007 (MMA) สนับสนุนการแข่งขันแผนธุรกิจ Thammasat Asia Moot Corp 2007 และสนับสนุนโครงการประกวดแผนธุรกิจใหม่แห่งชาติครั้งที่ 3 คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

ศิลปะและวัฒนธรรม จัดการประกวดและแสดงผลงาน “ศิลปกรรม ปตท.” ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร มากว่า 20 ปี อีกทั้งร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยทักษิณขยายผลสู่การประกวดศิลปกรรม ปตท. เยาวชนภาคเหนือและภาคใต้ นอกจากนั้น ยังร่วมกับชาวลำปางอนุรักษ์ประเพณีตีกลอง ปูจา โดยจัดสร้างหอกลองปูจา เขลางค์นคร ณ วัดเจดีย์ซาวหลังเพื่อเป็นศูนย์รวมใจในการสืบสานและถ่ายทอดประเพณีสู่ลูกหลานพร้อมจัดการประกวดตีกลองปูจาและจัดค่ายเยาวชนอนุรักษ์ประเพณีตีกลองปูจา เป็นต้น

การกีฬา ส่งเสริมกีฬาให้มีการพัฒนาครบวงจรด้วยการสนับสนุนกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพื่อสร้างความพร้อมและความแข็งแกร่งให้แก่นักกีฬาไทย ตั้งแต่ระดับเยาวชนต่อเนื่องจนถึงมืออาชีพ โดยสนับสนุนสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 4 อีกทั้งสนับสนุนสมาคมมวลปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย นอกจากนั้น ยังได้สนับสนุนการจัดการแข่งขันเทนนิสเยาวชนและเทนนิสอาชีพระดับโลกในประเทศไทย อาทิ พีทีที จูเนียร์ แชมเปี้ยนชิพ เทนนิสอาชีพระดับโลก คือ เอทีพี ไทยแลนด์ โอเพ่น และพีทีที ไทยแลนด์ โอเพ่น เป็นต้น และยังสนับสนุนการแข่งขัน “ขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ” และสนับสนุนการจัดงานกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 อีกด้วย


ระบบการผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วม : ทางเลือกใหม่พลังงานไทย

ระบบการผลิตไฟฟ้า-ความร้อนร่วม
ระบบการผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วม : ทางเลือกใหม่พลังงานไทย

โดย ผศ.ดร.ปูมยศ วัลลิกุล
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ภายใต้ความร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
_________________________________________________________________________

ระบบการผลิตไฟฟ้า-ความร้อนร่วม ภาคประชาชนในที่นี้หมายถึง

การที่ภาคประชาชนดำเนินกิจการไฟฟ้าในฐานะผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้จำหน่ายไฟฟ้า ทั้งนี้การดำเนินกิจการไฟฟ้าต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการผลิตความร้อน
เพื่อใช้ในกิจการของประชาชนภาคนั้นๆ ได้อย่างเหมาะเจาะลงตัวและยั่งยืน แนวความคิดการผลิตไฟฟ้าภาคประชาชนไม่ได้เป็นแนวความคิดใหม่
ในประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรป ระบบไฟฟ้าความร้อนร่วมภาคประชาชน เทียบเคียงได้กับระบบไฟฟ้าความร้อนร่วมขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer แบบ Cogeneration)

ในบ้านเรา ถือเป็นระบบผลิตไฟฟ้าอีกลักษณะหนึ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อเป็นส่วนเสริมให้กับการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ในบทความนี้จะกล่าวถึง
เฉพาะระบบผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วม (Combined Heat and Power หรือ CHP)
ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในอาคารเท่านั้น

เมื่อผู้ประกอบการประเภทโรงงานหรืออาคารรายใดใช้ไฟฟ้าและความร้อน
(เช่น ในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำ) ในปริมาณที่สูงจนถึงปริมาณที่
กระทรวงพลังงานกำหนด (1 เมกะวัตต์) จะถูกจัดเป็นผู้ประกอบ
การประเภทโรงงานหรืออาคารควบคุม และหากตั้งอยู่ใกล้แนวท่อก๊าซธรรมชาติ (ทั้งที่เป็นแนวท่อปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้) จะจัดได้ว่าผู้ประกอบการเหล่านี้ เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงสุดในการผันตัวเองเป็นผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าภาคประชาชน








จากการสำรวจข้อมูลโดยใช้ตำบลที่ตั้งของอาคารและโรงงานควบคุม
ที่อยู่ในแนวท่อก๊าซธรรมชาติ พบว่าอาคารและโรงงานควบคุม
ที่มีศักยภาพในการนำระบบ CHP มาใช้มีความเป็นจำนวนมาก และเมื่อพิจารณาสภาพการใช้ไฟฟ้า (ข้อมูลการใช้พลังงานของอาคารและโรงงานควบคุมปีพ.ศ.2546) พบว่ามีอาคารควบคุมที่มีศักยภาพตั้งอยู่ตามแนว
ท่อก๊าซธรรมชาติเหล่านี้ 966 แห่ง โดยในปีดังกล่าวใช้ไฟฟ้า
รวมกันสูงถึง 1,673 ล้านหน่วย (หรือ 1,673 GWh) ซึ่งผู้ประกอบการอาคารต้องซื้อเข้าโดยตรงจากสายส่ง
ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)เป็นผู้ผลิตและรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตอิสระ (IPP) เพื่อจ่ายให้กับหน่วยงานทั้งสองที่ต้นทาง เพื่อบริการขายให้กับผู้ใช้ที่เป็นภาคประชาชนที่ปลายทาง

แผนภูมิเปรียบเทียบการใช้พลังงานระหว่างการใช้ไฟฟ้าจากส่วนกลางและ
ระบบผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วมในกรณีอาคาร


จากการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของอาคารควบคุมข้างต้นพบว่า
ปริมาณไฟฟ้า 1,673 ล้านหน่วย ต่อปีนั้น ใช้เพื่อภารกิจของอาคารนั้นๆโดยตรง 1,157 ล้านหน่วย
และใช้เพื่อทำความเย็นภายในอาคาร 516 ล้านหน่วย

สมมุติว่าอาคารเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีทำน้ำเย็นแบบปกติ คือใช้ระบบอัดน้ำยา พลังงานไฟฟ้า 516 ล้านหน่วยดังกล่าวจะรองรับภาระทำความเย็นของอาคารได้ 1,448 ล้านหน่วย


ดังนั้นหากผู้ประกอบการอาคารควบคุมเหล่านี้ ต้องการผันตัวเองเป็นผู้ประกอบการไฟฟ้าชุมชน
ด้วยการนำระบบ CHP มาใช้ แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือ
ใช้เครื่องยนต์ก๊าซร่วมกับเครื่องทำความเย็นแบบดูดกลืน กล่าวคือใช้ก๊าซธรรมชาติ
เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนเครื่องยนต์ก๊าซ ซึ่งใช้ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และความร้อนจากไอเสียแทนที่จะปล่อยทิ้ง ก็จะนำมาป้อนระบบทำความเย็นแบบดูดกลืน



ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันซึ่งมีประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานชั้นต้น (Primary energy)

เป็นพลังงานไฟฟ้า-ความร้อนเพื่อใช้ประโยชน์ที่ปลายทางที่ 80% พลังงานชั้นต้น 4,597 ล้านหน่วยจะผลิตความร้อนเพื่อรองรับภาระการทำความเย็นได้ 1,448 ล้านหน่วย

และผลิตไฟฟ้าได้ 1,751 ล้านหน่วย ซึ่งส่วนหนึ่งใช้ในอาคารโดยตรง 1,157 ล้านหน่วย
อีกส่วนหนึ่ง (594 ล้านหน่วย) เป็นไฟฟ้าจ่ายกลับคืนให้กับระบบสายส่ง ซึ่งปริมาณดังกล่าวต้องใช้พลังงานชั้นต้นในการผลิตในโรงไฟฟ้าปกติถึง 1,559 ล้านหน่วย ดังนั้นพลังงานชั้นต้นสุทธิที่ภาคอาคารควบคุมใช้จะเท่ากับ 4,597-1,559 = 3,038 ล้านหน่วย และเมื่อเปรียบเทียบพลังงานชั้นต้นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือ 4,391 ล้านหน่วยแล้ว

จะประหยัดพลังงานชั้นต้นได้ทั้งสิ้น 4,391-3,038 = 1,353 ล้านหน่วย หรือ 30.8% ซึ่งเทียบเท่ากับกำลังไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ขนาดใหญ
่ถึง 500 เมกกะวัตต์ (MW) หนึ่งโรงทีเดียว






ในแง่ความคุ้มทุนเชิงเศรษฐศาสตร์ในภาพรวมของกลุ่มอาคารควบคุมดังกล่าว
พบว่า ต้นทุนระบบ CHP เพื่อการผลิตไฟฟ้าข้างต้นจะอยู่ในราคา 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเมกกะวัตต์

หากระบบ CHP มีกำลังผลิต 500 เมกกะวัตต์ จะลงทุนทั้งสิ้น 650 ล้านเหรียญสหรัฐ
(หรือประมาณ 26,017 ล้านบาท) หากราคาก๊าซธรรมชาติคือ 0.85 บาทต่อหน่วยพลังงาน ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ใช้กับระบบทั้งหมดในรูปพลังงานชั้นต้น 4,597 ล้านหน่วย
จะเป็น 3,907 ล้านบาท ต้นทุนนี้สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อขายคืนให้กับ กฟน. หรือ

กฟภ. (594 ล้านหน่วย) ในราคา 2.8 บาทต่อหน่วย คิดเป็นรายได้ทั้งสิ้น 1,663 ล้านบาทต่อปี

ดังนั้นต้นทุนเชื้อเพลิงสุทธิของระบบ CHP จึงเป็นเงิน 2,244 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่การซื้อไฟฟ้า 1,673 ล้านหน่วยจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะต้องเสียเงินทั้งสิ้น 4,685 ล้านบาทต่อปี

ดังนั้นการใช้ระบบ CHP จะช่วยประหยัดได้ถึง 2,441 ล้านบาทต่อปี คิดระยะเวลาคืนทุนอย่างง่ายได้ 10.6 ปี อย่างไรก็ตามระยะเวลาคืนทุนนี้จะลดลงถ้ามีมาตราการสนับสนุนต่างๆจากภาครัฐ
เช่นถ้ากำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าสูงขึ้น 30% ระยะเวลาคืนทุนจะลดเหลือ 8.9 ปี และจะลดลงเหลือ 6.3 ปี หากค่าไฟฟ้าพื้นฐานมีราคาสูงขึ้นเป็น 3.3 บาทต่อหน่วย







ในแง่สิ่งแวดล้อมการใช้ระบบ CHP ส่งผลให้มีการลดปริมาณการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้โดยตรง

เพราะการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล
จะปลดปล่อยมวลคาร์บอนในอัตรา
0.117 กิโลกรัมคาร์บอนต่อหน่วยไฟฟ้า (kgC/kWh)

หรือคิดเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก 0.43 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วย

(kgCO2/kWh) ดังนั้นการผลิตไฟฟ้า
ด้วยโรงไฟฟ้าปกติจำนวน 1,673 ล้านหน่วย
จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 719,000 ตัน
ส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าจะ
ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในอัตรา 0.19
กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วย




ดังนั้นการผลิตไฟฟ้า 4,597 ล้านหน่วย จะปล่อยก๊าซดังกล่าว 873,000 ตัน แต่การใช้ระบบ CHP จะมีไฟฟ้าจ่ายคืนกลับให้กับระบบส่งไฟฟ้า 594 ล้านหน่วย ทำให้ลดคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 255,000 ตัน ซึ่งทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบ CHP เพิ่มขึ้นสุทธิ 618,000 ตัน ซึ่งต่ำกว่าปริมาณที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าแบบเดิม 14%





การประเมินศักยภาพดังกล่าวข้างต้น เป็นการประเมินในลักษณะ
ที่อาคารควบคุมทุกๆอาคารที่อยู่ตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติผันตัวเอง
เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าภาคประชาชน ซึ่งตัวเลขศักยภาพต่างๆที่ได้อาจสูงเกินจริง

อย่างไรก็ตาม การที่ภาคประชาชนที่เป็นผู้ประกอบการอาคารควบคุมสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง ขณะเดียวกันก็ผลิตความร้อนเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานในการปรับอากาศในอาคารนั้น

ถือเป็นการใช้พลังงาน ณ ตำแหน่งที่ผลิต ซึ่งเป็นการลดการสูญเสียพลังงานในสายส่งไฟฟ้า ลดภาระการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ประหยัดพลังงานชั้นต้นและลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษโดยรวมของประเทศ ดังนั้นแนวคิดด้านการผลิตไฟฟ้าภาคประชาชน จึงเป็นทิศทางในการดำเนินการผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นส่วนเสริม ร่วมกับการผลิตไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ที่ยังคงมีความจำเป็นต้องขยายตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการปรับปรุงคุณภาพชีวิต
////////////////////

ขอบคุณข้อมูลจาก วิชาการ.คอม