บนเส้นทาง...พลังแห่งความยั่งยืน

บนเส้นทาง...พลังแห่งความยั่งยืน
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของวารสารพลังไทย และ วิชาการ.คอม
http://www.pttplc.com/TH/Default.aspx




กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ

กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วยการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ ดำเนินการโดยบริษัทย่อยของ ปตท. คือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) และหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ซึ่งทำหน้าที่จัดหาก๊าซธรรมชาติจากทั้งในและต่างประเทศ ขนส่งก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อส่ง แยกก๊าซธรรมชาติและจัดจำหน่าย นอกจากนั้นยังมีการลงทุนในบริษัทในกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

ปตท. ดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมผ่านบริษัทย่อยได้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) โดย ปตท. ถือหุ้นใน ปตท.สผ. สัดส่วนร้อยละ 65.73 ของทุนที่ออกและชำระแล้วของ ปตท.สผ. ซึ่งส่งผลให้กลุ่ม ปตท. ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติอย่างครบวงจร

ปัจจุบัน ปตท.สผ. มีการลงทุนในประเทศไทย จำนวน 15 โครงการ ลงทุนในพื้นที่คาบเกี่ยว 2 โครงการ และลงทุนในต่างประเทศ 21 โครงการ อยู่ในประเทศสหภาพพม่า เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย โอมาน แอลจีเรีย อียิปต์ อิหร่าน บาห์เรน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ

เป็นหน่วยงานภายในของ ปตท. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ ดังต่อไปนี้

การจัดหาก๊าซธรรมชาติ

ปตท. เป็นผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติจากผู้ขายก๊าซธรรมชาติภายใต้สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 14 ฉบับ แบ่งเป็นสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติในประเทศจำนวน 12 ฉบับ ได้แก่สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติยูโนแคล 1 (แหล่งเอราวัณ), สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติยูโนแคล 2-3, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติแหล่งบงกช, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งไพลิน, สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งทานตะวัน/เบญจมาศ, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งน้ำพอง, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเจดีเอ A-18, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเจดีเอ B-17&C-19 และ B17-01 และสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งภูฮ่อม, สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยูโนแคล 123 (ส่วนเพิ่ม), สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์เหนือ และสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งต่างประเทศ อีกจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ สัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาและแหล่งซื้อก๊าซธรรมชาติแหล่งยาดานาและแหล่งซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเยตากุนในสหภาพพม่า

ทั้งนี้ การจัดหาก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ส่วนใหญ่จะมาจากแหล่ง/แปลงสัมปทานก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย โดยมีปริมาณและสัดส่วนการจัดหาก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงปี 2548-2550



ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

เมื่อผู้ขายก๊าซธรรมชาติได้ส่งมอบก๊าซธรรมชาติให้กับ ปตท. ที่จุดส่งมอบแล้ว ก๊าซธรรมชาติทั้งหมดจะถูกส่งไปยังลูกค้าต่างๆ โดยผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

ปัจจุบัน ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. (รวมท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ขอใช้โดยมีค่าตอบแทนจากกระทรวงการคลัง) มีความยาวรวมประมาณ 3,180 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยระบบห่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก ความยาวประมาณ 1,397 กิโลเมตร และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล ความยาวประมาณ 1,783 กิโลเมตร (ไม่รวมระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ หรือ Distribution Pipeline อีกประมาณ 770 กิโลกรัม) โดยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. จะต่อเชื่อมแหล่งก๊าซธรรมชาติต่างๆ ในอ่าวไทย และท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาและเยตากุน สหภาพพม่า ที่ชายแดนไทย – สหภาพพม่า เข้ากับผู้ผลิตไฟฟ้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติและลูกค้าอุตสาหกรรม

ภายในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ยังประกอบด้วยหน่วยควบคุมจุดกลั่นตัวของก๊าซธรรมชาติ (Dew Point Control Unit) และอุปกรณ์รวมก๊าซธรรมชาติ (Common Header) ซึ่งเป็นกระบวนการเพื่อควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติจากแหล่งต่างๆ ในอ่าวไทยให้มีค่าความร้อนคงที่เป็นหนึ่งเดียวและมีคุณภาพเดียวกันทั้งระบบ

การจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ

ปตท. จัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ให้กับกลุ่มลูกค้าผู้ผลิตไฟฟ้า ได้แก่ กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมโดยตรงผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบัน ปตท. มีลูกค้าอุตสาหกรรมทั้งสิน 244 ราย นอกจากนี้ ปตท. ยังได้นำก๊าซธรรมชาติบางส่วนผ่านเข้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท.โดยผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะถูกจำหน่ายผ่านหน่วยธุรกิจน้ำมันของ ปตท.

โรงแยกก๊าซธรรมชาติ

นอกจาก ปตท. จะจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าโดยตรงแล้ว ปตท. ได้นำก๊าซธรรมชาติบางส่วนผ่านเข้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. เพื่อเพิ่มมูลค้าให้กับก๊าซธรรมชาติและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ประกอบด้วย ก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้ม และก๊าซโซลีนธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้

ปัจจุบัน ปตท. เป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ในประเทศไทย มีโรงแยกก๊าซธรรมชาติทั้งสิ้น 5 โรง มีความสามารถแยกก๊าซธรรมชาติได้สูงสุด 1,710 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าปิโตรเคมีจะเป็นไปตามสูตรราคาที่ตกลงกับลูกค้าเป็นรายๆ ไปโดยจะอ้างอิงกับราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลก ส่วนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ก๊าซหุงต้ม) และก๊าซโซลีนธรรมชาติซึ่งจัดจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกผ่านหน่วยธุรกิจน้ำมันของ ปตท. จะอิงกับราคาตลาดโลก

โครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์

เพื่อส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในภาคขนส่ง ลดผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ ที่สนับสนุนให้ใช้เชื้อเพลิงที่สามารถจัดหาได้จากแหล่งภายในประเทศ ปตท. ได้เริ่มนำ NGV (Natural Gas Vehicles) มาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถโดยสารประจำทาง NGV ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตั้งแต่ปี 2536 และมีการขยายตลาด NGV อย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมียานยนต์ที่ใช้ NGV ประมาณ 55,868 คัน โดยมีสถานีบริการก๊าซ NGV ที่เปิดบริการแล้ว 166 สถานี กรุงเทพฯ และปริมณฑล 90 สถานี ต่างจังหวัด 76 สถานี และมียอดจำหน่าย NGV เฉลี่ยเดือนธันวาคม 2550 ประมาณ 36.5 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันโดย ปตท. มีเป้าหมายให้ใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันในภาคขนส่งร้อยละ 20 เป็นปริมาณ 417 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2555

กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย

กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลายประกอบด้วยหน่วยธุรกิจน้ำมันรับผิดชอบการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยมีสายงานสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ หน่วยบริหารและปฏิบัติการคลัง การบริหารและการจัดหา และจัดส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และการขายก๊าซปิโตรเลียมเหลวในตลาดขายส่งให้แก่ผู้ค้าตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันและปิโตรเคมี และหน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเคมีและการกลั่น

หน่วยธุรกิจน้ำมัน

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ปตท. จำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย 2 ช่องทางหลัก ได้แก่

การตลาดค้าปลีก ซึ่งเป็นการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นผ่านเครือข่ายสถานีบริการน้ำมัน ปตท.ปัจจุบันมีจำนวน 1,198 แห่ง ถึงแม้ว่าการแข่งขันเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดยคู่แข่งจะทวีความรุนแรงขึ้น ปตท. ยังสามารถมีส่วนแบ่งการตลาดในระดับสูงที่สุดอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 15 และในขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ปตท.ชะลอการปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลช้ากว่าผู้ค้าน้ำมันรายอื่นเพื่อรับภาระแทนผู้บริโภค

นอกจากนั้น ปตท. ยังได้พัฒนาสถานีบริการแบบครบวงจร เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่ที่ทันสมัยและสะดวกสบาย โดยใช้กลยุทธ์ในการลงทุนธุรกิจเสริมต่างๆ เช่น ร้านค้าสะดวกซื้อภายในสถานีบริการ ร้านอาหาร ศูนย์บริการน้ำหล่อลื่น บริการล้างรถอัตโนมัติร้านกาแฟและธนาคาร เป็นต้น รวมถึงพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าน้ำมันมากขึ้น

การตลาดพาณิชย์ เป็นการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม บริษัทสายการบิน การเดินเรือขนส่ง หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ กลุ่มลูกค้าก๊าซหุงต้ม และการจัดจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศนอกเหนือจากการจัดจำหน่ายใน 2 ส่วนหลักๆ แล้ว ยังมีการจัดจำหน่ายน้ำมันประมงในเขตต่อเนื่อง 12-24 ไมล์ทะเล และการจัดจำหน่ายน้ำมันในทะเลนอกราชอาณาจักรอีกด้วย


หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งแบ่งออก เป็นธุรกิจการค้าน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี การบริหารความเสี่ยงจากการค้าน้ำมัน และการจัดหาการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ กิจกรรมในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ครอบคลุมการจัดหาและการค้าระหว่างประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ ปตท. และบริษัทในกลุ่มในการแข่งขันทำกำไร และเพื่อพัฒนาความสามารถในการทำกำไรจากการค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เนื่องจากในอดีตประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมาโดยตลอด ปตท. จึงมีความคุ้นเคยกับธุรกรรมประเภทนำเข้า (OUT-IN Trading) แต่หลังจากการเปิดดำเนินการของโรงกลั่นน้ำมันระยอง และสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง ทำให้รูปแบบธุรกรรมเปลี่ยนไปเป็นแบบส่งออก (IN –OUT Trading) กล่าวคือ การส่งน้ำมันสำเร็จรูปส่วนเกินจากความต้องการในประเทศออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ส่วนธุรกรรมแบบการค้าในต่างประเทศ (OUT – OUT Trading) นั้น เป็นรูปแบบธุรกรรมหนึ่งที่ดำเนินการโดย ปตท. ซึ่งจะสามารถทำกำไรได้จากส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาขายซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด

การดำเนินธุรกิจการค้าสากล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1. ธุรกิจการค้าน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ปตท. ดำเนินธุรกิจการจัดซื้อ การขาย การค้าและการขนส่งน้ำมันดิบและคอนเดนเสทจากแห่งในประเทศและต่างประเทศให้กับโรงกลั่นรวมถึงการวิเคราะห์หาโอกาสทางการค้า การแลกเปลี่ยน (Physical Swap) การจ้างกลั่น (Processing) น้ำมันดิบและคอนเดนเสทเพื่อผลกำไรและความสมดุลในระบบ รวมทั้งการดูแลให้มีการใช้น้ำมันดิบและคอนเดนเสทที่ผลิตได้ในประเทศอย่างคุ้มค่า

2. ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง ปตท. ดำเนินการจัดหา นำเข้า ส่งออก และทำการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการวิเคราะห์หาโอกาสในการทำการค้า การแลกเปลี่ยน น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดและก๊าซปิโตรเลียมเหลว ทั้งนี้ได้จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นในประเทศทั้งในส่วนที่ ปตท. ถือหุ้นและที่ไม่ได้ถือหุ้นเพื่อนำไปส่งออกในตลาด รวมถึงการทำธุรกรรมอื่นๆ เช่น การทำ Location Swap และการทำ Blending เป็นต้น

3. ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ปตท. ดำเนินการจัดหาวัตถุดิบสำหรับโรงงานปิโตรเคมีของบริษัทในกลุ่ม และดำเนินการค้าและการตลาดผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลัก และผลิตภัณฑ์พลอยได้จากโรงงานปิโตรเคมี โดยครอบคลุมตลาดในประเทศและต่างประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสี ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมน้ำมัน

ปตท.เป็นผู้ทำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) และยังเป็นตัวกลางส่งออกผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท อัลลายแอนซ์รีไฟน์นิ่ง จำกัด และบริษัทอื่นๆ โดยวิธีการเข้าไปประมูลราคา

เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน ปตท. ยังได้มีสายงานสนับสนุนในการบริหารความเสี่ยงจากการค้าน้ำมัน และการจัดหาการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศอีกด้วย

หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น

ปตท.ได้ลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นผ่านบริษัทในเครือ ซึ่ง ปตท. มีการทำธุรกิจในลักษณะปกติทั่วไป (Arm’s Length Basis) โดยบริษัทหลักที่ ปตท.เข้าร่วมลงทุน มีดังนี้ 1.บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 3.บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด 4.บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 5.บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด 6.บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด 7.บริษัท พีทีที โพลีนเมอร์โลจิสติกส์ จำกัด 8.บริษัท เอ็นพีทีซี เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง เซอร์วิส เซส จำกัด 9.บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 10.บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) 11.บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด 12.บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

ธุรกิจปิโตรเคมี ปตท. ลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรผ่านบริษัทในกลุ่มรวมทั้งสิ้น 8 บริษัท ซึ่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และเม็ดพลาสติก พร้อมดำเนินธุรกิจการตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้บริการสาธารณูปโภคและโลจิสติกส์ครบวงจร

ธุรกิจการกลั่น ปตท. ลงทุนในธุรกิจโรงกลั่นผ่านบริษัทในกลุ่มรวมทั้งสิ้น 4 บริษัท โดยดำเนินธุรกิจขายน้ำมันดิบ ที่ ปตท.จัดหามาจากแหล่งน้ำมันในประเทศและต่างประเทศให้กับโรงกลั่นทั้ง 4 บริษัท ซึ่งน้ำมันดิบจากแหล่งในประเทศทั้งหมดจะขายให้กับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นอกจากนั้น ยังรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปจากทั้ง 4 โรงกลั่น เพื่อจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่ ปตท. รับซื้อจะอ้างอิงจากสัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ในบริษัทนั้นๆ

การกำกับดูแลกิจการ

ปตท. เป็นบริษัทจดทะเบียนที่บริหารจัดการธุรกิจด้วยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาโดยตลอด นับตั้งแต่แปลงสภาพเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2544 โดยคณะกรรมการได้จัดให้มีนโยบายกำกับดูแลกิจการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งผลของการดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังกล่าว คือ การได้รับรางวัล ได้รับการจัดอันดับจากองค์กร/หน่วยงาน/สถาบันของภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศตลอดมา ดังปรากฏจากรางวัลต่างๆ ที่ได้รับในปี 2550 อาทิ

รางวัล Asia’Best Managed and Governed Companies Poll 2008 โดยนิตยสาร Euromoney จำนวน 5 รางวัล

รางวัล Recognition Awards 2007, The Best of ASIA โดยนิตยสาร Corporate Governance Asia ของประเทศฮ่องกง

รางวัลคณะกรรมการแห่งปีดีเลิศ (Board of The Year for Exemmplary Practices) ประจำปี 2549/50 และรางวัลประกาศเกียรติคุณพิเศษสำหรับคณะกรรมการบริษัทที่มีผลงานดีต่อเนื่อง (ต่อเนื่อง 3 ครั้ง) โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2550 โดยกระทรวงการคลัง 3 รางวัล

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award (TQA) 2006 แก่โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง โดยคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550

คณะกรรมการ ปตท.มีเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูกิจการที่ดี โดยนำหลักเกณฑ์การกับดูแลกิจการที่ดี และระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาเป็นปัจจัยหลักในการเสริมสร้างองค์กรให้มีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นพื้นฐานของการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดย ปตท. ได้มีการกำหนดไว้ในข้อบังคับของ ปตท. ว่า “บริษัทฯ ต้องจัดทำนโยบายเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ ตลอดจนจริยธรรมในการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ฝ่ายจัดการ และพนักงาน ตามระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติขององค์กรที่ได้มาตรฐานและเป็นแนวทางที่ถูกต้อง” และจากข้อบังคับบริษัทดังกล่าว ได้มีการจัดทำเป็นระเบียบบริษัทว่าด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตั้งแต่ปี 2544 พร้อมทั้งจัดทำคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท. ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีได้กำหนดจรรยาบรรณและข้อพึ่งปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการรวมทั้งได้พิจารณาทบทวน ปรับปรุงเนื้อหาในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท. ฉบับเดิม เพื่อให้มีความสมบูรณ์และเป็นไปตามหลักสากลปฏิบัติยิ่งขึ้น โดยการจัดลำดับหัวข้อและเพิ่มเติมสาระให้ครบถ้วน เพื่อให้ครอบคลุมเรื่องการปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นการส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิโดยครอบคลุมสิทธิพื้นฐานตามกฎหมาย เช่น การมีส่วนแบ่งในกำไรของกิจการ การซื้อขายหรือโอนหุ้น การได้รับข่าวสารข้อมูลของกิจการอย่างเพียงพอ การเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ กำหนดค่าตอบแทนกรรมการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชี และเรื่องที่มีผลกระทบต่อบริษัท ซึ่งเนื้อหาจะสอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังกล่าวข้างต้น โดยจัดพิมพ์เป็นคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1/2548 ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานลงนามรับทราบและถือปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งได้พิจารณานำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท. มาเป็นแนวทางปฏิบัติ

หลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจและการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ปตท.

1. ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ และการกระทำของตนเองและสามารถชี้แจง/อธิบายการตัดสินใจนั้นได้ หรือ Accountability

2. ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ หรือ Responsibility

3.การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และมีคำอธิบายได้ หรือ Equitable Treatment

4. ความโปร่งใสในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย หรือ Transparency

5. การมีวิสัยทัศน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการในระยะยาวหรือ Vision to Create Long Term Value

6. การมีจริยธรรม/จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ หรือ Ethics


คุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้าง ปตท. สู่การเป็นบริษัทไทยชั้นเลิศในเวทีระดับนานาชาติ (Build the Premier Thai Multinational) ทำให้ ปตท.ยิ่งเพิ่มความใส่ใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น โดยในส่วนของการบริหารระบบคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Quality, Safety, Health and Environment : QSHE) :ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้มีการวิเคราะห์และประเมินโดยพิจาณาถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาว่างแผนกำหนดนโยบาย ทิศทางการบริหาร จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ

ปตท. ได้เลือกสรรเครื่องมือ มาตรฐาน ตลอดจนเทคโนโลยีควบคุมความเสี่ยงในระดับมาตรฐานสากลมาประยุกต์ใช้ในองค์กรซึ่งจากการบริหารจัดการตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ในกลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติอย่างจริงจัง ทำให้โรงแยกก๊าซธรรมระยองได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2549 จากนั้นได้ขยายการบริหารจัดการมายังสายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และสามารถผ่านเกณฑ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) ในปี 2550

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ QSHE อื่น ๆ ที่สำคัญอาทิ

การควบคุมและป้องกันความสูญเสียด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ นอกจากการดำเนินงานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก./OHSAS18001 แล้ว ปตท. ได้มุ่งเน้นไปที่การดำเนินการเชิงป้องกันเพื่อควบคุมและเฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อพนักงานและแรงงานจ้างเหมา อาทิ จัดหาแนวปฏิบัติที่ดีในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ผลักดันให้มีการรายงานเหตุการณ์เกือบอุบัติเหตุจัดทำคู่มือการขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัยและระเบียบปฏิบัติในการใช้รถยนต์ ผลักดันให้บริษัทแรงงานจ้างเหมาจัดให้มีการตรวจสุขภาพทางอาชีวอนามัยตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคจิตติดต่อร้ายแรง เป็นต้น

นอกเหนือไปจากพนักงานและแรงงานจ้างเหมาแล้ว ปตท.ยังคำนึงถึงผู้ส่งมอบ ผู้รับเหมา และลูกค้า อาทิ การสนับสนุนการติดตั้งระบบน้ำดับเพลิงฉุกเฉินให้โรงบรรจุก๊าซหุงต้มเอกชนการจัดทำคู่มือการดำเนินงานด้าน QSHE สำหรับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และตรวจสอบการดำเนินการอย่างเคร่งครัดทั้งสถานีบริการที่เป็นของ ปตท. เอง รวมไปถึงสถานีบริการที่เป็นของตัวแทนจำหน่าย

การบริหารจัดการเพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปตท. มุ่งเน้นการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุก และให้ความสำคัญในภาพของสายโซ่ธุรกิจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งได้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม” ดูแลการบริหารจัดการทั้งด้านเทคนิค สิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์/มวลชนสัมพันธ์ตลอดจนดำเนินการตรวจสอบและจัดทำฐานข้อมูลการระบายมลพิษเพื่อจัดทำแผนมลพิษของทั้งระยะสั้นและระยะยาว คิดเป็นเงินลงทุนเพื่อปรับลดมลพิษของทั้งกลุ่ม ปตท. กว่า 10,000 ล้านบาท รวมทั้งเข้าร่วมในโครงการจัดทำฐานข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory Database)ของประเทศไทย และวางแผนที่จะนำหลักการจัดหาพัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาปฏิบัติอีกด้วย

การศึกษา PTT Group Strategic Direction on Climate Change ปตท. ได้ดำเนินการศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมกระบวนการทำงานโดยตรงในภาพรวมของกลุ่ม ปตท.เพื่อนำมาวางแผน กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ในการควบคุมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ปตท. ได้พัฒนาโครงการบริหารคุณภาพ/เพิ่มผลผลิต โดยมีพื้นฐานเกณฑ์การดำเนินโครงการฯมาจากเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) โดยนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของหน่วยงานระดับฝ่าย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดความคิดเชิงนวัตกรรม และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างครบถ้วน
การเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการด้านคุณภาพและความปลอดภัย ปตท. ได้ริเริ่มนำ การดำเนินงาน TPM (Total Productive Maintenance ) ตามแนวทาง JIPM (Japan Institute of Plant Maintenance) มาประยุกต์ใช้ เพื่อควบคุมความเสี่ยงในกระบวนการทำงานการผลิตให้มีความต่อเนื่องสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการได้ตรงตามความต้องการและเวลาที่ลูกค้ากำหนด รวมทั้งเกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


การพัฒนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปตท. ร่วมเป็นแกนนำ ตลอดจนเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อเป็นกลไกผลักดันสู่ความยั่งยืนขององค์กรและของประเทศ อาทิ กลุ่มองค์กรเครือข่ายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก (World Business Council for Sustainable Development : WBCSD) คณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Business Council for Sustainable Development : TBCSD) องค์กรความร่วมมือระหว่างบริษัทน้ำมันของประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Council on Petroleum : ASCOPE) และสมาชิก Oil Spill Response & East Asia Response Limited : OSRL/EARL สำหรับการสนับสนุนการขจัดคราบน้ำมันหกล้นในทะเล เป็นต้น

ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืน

ในปี 2550 ซึ่งเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษาครบ ๘0 พรรษา แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปตท. ถือเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดตัว โครงการ “รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง” เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในตำบลต่างๆ โดยมีเป้าหมาย 84 ตำบลทั่วประเทศ ที่สำคัญโครงการนี้เป็นการสานต่อจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ ที่ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในการดูแลรักษาป่าให้ต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาที่จิตใจของชุมชนให้รักษ์ป่าและพัฒนาตนเองได้อย่างเข้มแข้งภายใต้วิถีพอเพียง

นอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว ปตท. ได้มุ่งมั่น ทุ่มเท พลังใจ สร้างสรรค์และสนับสนุนกิจกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนสังคมและประเทศชาติ ด้วยความยึดมั่นจรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องเสมอมา
สังคมและชุมชน ปตท. พร้อมให้ความช่วยเหลือทุกครั้งที่เกิดภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะในยามที่พี่น้องชาวไทยต้องประสบกับความเดือดร้อน อาทิ โครงการกรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจสู้ภัยแล้ง ปตท. ร่วมใจต้านภัยหนาว ตลอดจนมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก เพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการ PTT Tune Up ช่วยชาติประหยัดพลังงาน โครงการขับขี่ปลอดภัยรักวินัยจราจร โครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจราจร โครงการปันน้ำใจชุมชนซึ่งเปิดคลินิกรักษาพยาบาลฟรีและจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าบริการตรวจรักษาและให้ความรู้เบื้องต้นทางสาธารณสุขแก่ชุมชน สนับสนุนมูลนิธิกองทุนระยองแข็งแรง การสนับสนุนสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน


สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดูแลการจัดการให้มีผลกระทบน้อยที่สุดแล้ว ปตท.ยังดูแลรักษาป่าร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรอบพื้นที่อย่างเข้มแข็ง ตลอดจนขยายผลสู่โครงการต่อเนื่องและกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีก ได้แก่ โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โครงการรางวัลลูกโลกสีเขียว โครงการทองผาภูมิตะวันตก โครงการจัดการทรัพยากรชีวภาพชายฝั่งทะเลถึงยอดเขา พื้นที่หาดขนอม – เขานัน โครงการค่ายเยาวชน ปตท. อนุรักษ์ทะเลไทย นอกจากนั้น ปตท. ยังได้สร้าง “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕0 พรรษา” ในสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.ระยองซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สมุนไพรกว่า 270 ชนิด และเป็นสวนแห่งการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ของภาคตะวันออก รวมทั้งจัดทำโครงการสร้างสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ มาบตาพุด โครงการระยองเมืองสีเขียว สนับสนุนมูลนิธิกองทุนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองมาบตาพุดและบ้านฉาง จ.ระยอง และสนับสนุนการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ณ วิทยาเขตโป่งสลอดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อีกด้วย

การศึกษา ปตท. ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน หรือ สสวช. ร่วมกับ 15 สถาบันการศึกษาเปิด “โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต” มีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิตจากกลุ่มผู้นำชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่นนอกจากนั้น ปตท. ยังมีโครงการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารห้องสมุด ปตท. “พลังไทย เพื่อไทย” นับตั้งแต่ปี 2536 และมีการส่งเสริมความรู้สู่เยาวชนในหลากหลายรูปแบบ อาทิ โครงการรถนิทรรศการเคลื่อนที่ “ เปิดโลกก๊าซธรรมชาติ” โครงการค่ายสะพานความรู้สู่ท้องถิ่น โครงการค่ายเยาวชนอนุรักษ์พลังงาน Generation P โครงการความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพช่างเทคนิค และโครงการ ปตท. (5ส) สู่โรงเรียน โครงการ ปตท.ร่วมสานฝันนักประดิษฐ์ใช้พลังงานอย่างยั่งยืน อีกทั้งสนับสนุนการจัดแข่งขัน Money Management Award 2007 (MMA) สนับสนุนการแข่งขันแผนธุรกิจ Thammasat Asia Moot Corp 2007 และสนับสนุนโครงการประกวดแผนธุรกิจใหม่แห่งชาติครั้งที่ 3 คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

ศิลปะและวัฒนธรรม จัดการประกวดและแสดงผลงาน “ศิลปกรรม ปตท.” ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร มากว่า 20 ปี อีกทั้งร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยทักษิณขยายผลสู่การประกวดศิลปกรรม ปตท. เยาวชนภาคเหนือและภาคใต้ นอกจากนั้น ยังร่วมกับชาวลำปางอนุรักษ์ประเพณีตีกลอง ปูจา โดยจัดสร้างหอกลองปูจา เขลางค์นคร ณ วัดเจดีย์ซาวหลังเพื่อเป็นศูนย์รวมใจในการสืบสานและถ่ายทอดประเพณีสู่ลูกหลานพร้อมจัดการประกวดตีกลองปูจาและจัดค่ายเยาวชนอนุรักษ์ประเพณีตีกลองปูจา เป็นต้น

การกีฬา ส่งเสริมกีฬาให้มีการพัฒนาครบวงจรด้วยการสนับสนุนกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพื่อสร้างความพร้อมและความแข็งแกร่งให้แก่นักกีฬาไทย ตั้งแต่ระดับเยาวชนต่อเนื่องจนถึงมืออาชีพ โดยสนับสนุนสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 4 อีกทั้งสนับสนุนสมาคมมวลปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย นอกจากนั้น ยังได้สนับสนุนการจัดการแข่งขันเทนนิสเยาวชนและเทนนิสอาชีพระดับโลกในประเทศไทย อาทิ พีทีที จูเนียร์ แชมเปี้ยนชิพ เทนนิสอาชีพระดับโลก คือ เอทีพี ไทยแลนด์ โอเพ่น และพีทีที ไทยแลนด์ โอเพ่น เป็นต้น และยังสนับสนุนการแข่งขัน “ขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ” และสนับสนุนการจัดงานกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 อีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น