การนำเอาแสงแดดมาทำให้เกิดความเย็น

การนำเอาแสงแดดมาทำให้เกิดความเย็น


พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นพลังงานจากธรรมชาติที่ถือว่าเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดและการนำเอาพลังงานประเภทนี้มาประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์หรือระบบต่างๆในชีวิตประจำวันก็ช่วยให้เราลดการทำลายสิ่งแวดล้อมลงไปได้มาก



นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นและพัฒนาวิธีการนำเอาแสงอาทิตย์ที่ส่องสว่างมาทำให้ระบบทำความเย็นทำงานได้เหมือนดังตู้เย็นทั่วไปที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวให้พลังงานในการทำงานเพื่อทำความเย็น โครงงานนี้มีชื่อว่า MEDISCO และถือว่าเป็นผลงานของนักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Fraunhofer Institute for Solar Energy System ISE เมืองไฟร์บูร์ก ประเทศเยอรมันนี


โดยนักวิทยาศาสตรํได้เปิดเผยถึงข้อมูลที่ได้จากการทดลองและความเป็นไปได้ในการนำเอาแสงอาทิตย์มาช่วยทำระบบทำความเย็นทำงานได้ ซึ่งการทดลองใช้งานระบบไปก็มีที่โรงกลั่นเหล้าองุ่นในเมืองทูนิเซีย และโรงรีดนมในโมรอกโค และพบว่าการทำงานของระบบเป็นที่น่าใจและมีความเป็นไปได้ที่จะทำการพัฒนาระบบนี้ให้สามารถใช้งานได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมต่างๆ โรงงานมหาวิทยาลัยและครัวเรือนที่ต้องการ โดยเฉพาะเมืองที่อยู่ในภูมิภาคแถบเมดิเตอร์ริเนียนที่มีการส่องสว่างของแสงอาทิตย์ที่ยาวนานในแต่ละวัน และในบางฤดูกาลก็มีระยะเวลาของกลางวันที่ยาวนานกว่ากลางคืน


การใช้งานระบบทำความเย็นจากแสงอาทิตย์ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่แสนแพงในการจ่ายค่าไฟในแต่ละเดือน และยังช่วยลดการทำงานสภาวะแวดล้อมของโลกได้อีกด้วย




ระบบทำความเย็นจะทำงานตลอดเวลาที่การส่องสว่างของแสงอาทิตย์ นั่นก็หมายความว่าการที่ภายนอกมีอากาศที่ร้อน ระบบจะสามารถสร้างความเย็นเกิดขึ้นภายในได้มากขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์จะตรงข้ามกัน การแช่เนื้อสัตว์ ผัก นม หรืออาหารที่เสียง่ายเมื่อเจออากาศร้อนก็จะช่วยถนอมอาหารได้เป็นอย่างดี เหมือนการเก็บอาการเหล่านี้ในตู้เย็น




ระบบที่จะมีการติดตั้งแผ่นดูดซับความร้อนที่ได้มาจากแสงอาทิตย์ และความร้อนที่เก็บกักได้สามารถทำให้น้ำเดือดได้ถึง 200 องศา และความร้อนนี่เองจะกลายเป็นพลังงานที่ส่งไปยังระบบทำความเย็นแทนที่พลังงานไฟฟ้า และพลังงานและขั้นตอนการทำงานก็จะผ่านกระบวนการจนได้อุณหภูมิที่ 0 องศาเป็นผลลัพธ์




ในตอนนี้ โครงการ MEDSICO ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองและคาดว่าจะสามารถนำไปใช้ทั่วไปในฟาร์ม อุตสาหกรรรม และ โรงงานที่ต้องการตู้เก็บความเย็นในการเก็บกักอาหาร และสินค้า โครงงานนี้ได้รับเงินสนับสนุนจาก European Commission โดย Polytechnic University of Milan




ที่มา






โดย


ธนัช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น