ศักยภาพของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด

ผลกระทบจากการใช้ถ่านหินในปัจจุบัน


             ในสภาพปัจจุบันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินเพื่อผลิตพลังงานเริ่มปรากฎชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นการเผาไหม้ถ่านหินโดยตรงในปัจจุบันและอนาคต จำเป็นที่จะต้องมีระบบการกำจัดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ก่อนที่จะปล่อยออกสู่บรรยากาศ ซึ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตพลังงานสูงขึ้นและก็ยังมีปัญหาที่ต้องพัฒนาเพื่อแก้ไขอยู่ตลอด ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบการกำจัดก๊าซ SO2 โดย Wet Process ถึงแม้ว่าจะสามารถกำจัด SO2 ออกได้ แต่ก็ยังก่อให้เกิดมลสารที่เกิดจากระบบกำจัดอีกเช่น Slurry ของ CaSO4 เป็นต้น และไม่สามารถกำจัด NOx ได้ ปัจจุบันได้มีกระบวนการ Dry Process แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพต่ำทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากถ่านหิน (Coal Gasification) และ Coal Water Mixture เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีแนวโน้มที่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยสามารถลดได้ทั้งปริมาณซัลเฟอร์ และ NOx รวมทั้งอาจจะลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงอีกด้วย


การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง


         มีการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและจีน ทำให้เทคโนโลยีนี้แพร่หลายมากขึ้นและมีราคาถูกลง ตัวอย่างในประเทศจีน ได้ประมาณว่ามีโรงงานผลิตก๊าซจากถ่านหินเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากกว่า 10,000 แห่ง และมีโรงงานที่มีศักยภาพในการผลิต Coal Water Mixture หลายโรงงาน



ปริมาณสำรองของถ่านหิน


        มีปริมาณสำรองของถ่านหินจำนวนมากเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ดังนั้นถ้ามีวิธีการนำมาใช้ที่เหมาะสมก็สามารถใช้ได้นานไม่น้อยกว่า 200 ปี เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะหมดไปในระยะเวลา 40-60 ปีนี้



ศักยภาพของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด


    ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจำกัดอยู่เฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า เช่น อุตสาหกรรมการผลิตปูนซิเมนต์ อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ เป็นต้น เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงถ่านหินยังไม่เป็นที่ยอมรับจากประชาชน ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจะสามารถช่วยลดและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ก็ตาม

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังเช่น ในปี 2547 และ 2548 ดำเนินโครงการออกแบบรายละเอียดเทคโนลียีแบบ Circulating Fluidized Bed Combustion ให้กับโรงงานผลิตกระดาษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงและช่วยลดปริมาณมลพิษที่จะเกิดจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง




ขอบคุณข้อมูลจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น